ยินดีต้อนรับทุกท่าน














วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ส่งงาน อาจารย์วิเชียร

ส่งคำตอบ อาจารย์วิเชียร
1. ร้านไอสกรีม iberry นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการในการบริการ การขาย อย่างไรบ้าง อธิบาย



เทคโนโลยีไฮเทคเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม iberry Iberry ไอศครีมโฮมเมด รสชาดผลไม้ไทยๆ ก่อกำเนิดจากสองผู้บริหาร พี่น้องหนุ่มสาว ตัวอย่างคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่างคุณวิวัฒน์ และคุณอัจฉรา บุราลักษณ์ หรือคุณก๋อยและคุณปลา ที่เริ่มต้นธุรกิจจากศูนย์ แม้จะไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตไอศกรีมมาก่อน แต่เพราะความชอบส่วนตัว ร้านไอศกรีมแห่งนี้จึงเกิดขึ้น จากร้านไอศกรีมเล็กๆ ร้านแรก ปัจจุบัน iberry ได้ขยายร้านไอศกรีมไปถึง 10 สาขา คือในกรุงเทพ 9 สาขา และต่างจังหวัดอีก 1 สาขา ทำให้ทางร้านจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจเพราะต้นทุนของไอศกรีมระดับคุณภาพแบบนี้ไม่ใช่ถูกๆ ถ้าไม่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการ อาจต้องสูญเสียจนเกินทุนก็ได้สำหรับการผลิตไอศกรีม คุณปลานำเครื่องผลิตไอศกรีมโดยเฉพาะมาจากต่างประเทศ ซึ่งเครื่องนี้จะระบุได้ว่าจะผลิตไอศกรีมแต่ละรสจำนวนกี่กิโลกรัม เครื่องตักดิจิตอลก็จะคำนวณว่าต้องตักวัตถุดิบแต่ละอย่างจำนวนเท่าไร และจะคำนวณเวลาและอุณหภูมิที่ต้องใช้ให้ด้วย ซึ่งระบบจะมีการควบคุมที่แม่นยำใช้เซนเซอร์ควบคุมความเย็นส่วนการควบคุมความเย็นของตู้ ไอศกรีมให้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่ให้ปัญหาไฟดับหรือตู้ไม่ทำงานส่งผลให้ไอศกรีม เกิดความเสียหาย คืนรูป หรือเสียรสชาดไปนั้น คุณปลาได้แก้ปัญหาด้วยการติดตั้งตัวเซนเซอร์ที่ตู้ไอศกรีมแต่ละสาขา โดยการแนะนำของคุณกาญจน์ ทองใหญ่ Managing Director ของบริษัท ลอว์ เอ็นฟอร์ซเม้นท์ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยและระบบศูนย์ควบคุมและสั่งการ ซึ่งหากอุณหภูมิหรือกระแสไฟฟ้าในตู้ผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไป เช่น ตู้เย็นร้อนขึ้นผิดปกติ ตัวเซนเซอร์จะส่งสัญญาณไปที่กล่องควบคุมซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับระบบโทรศัพท์ เพื่อโทรศัพท์แจ้งไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุของบริษัท ลอว์ เอ็นฟอร์ซเม้นท์ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ จำกัด ที่ตึกล็อกซเลย์โดยอัตโนมัติ ซึ่งที่ศูนย์ฯ จะมีพนักงานคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบปัญหาและปฏิบัติการแก้ไขตามขั้นตอนที่ทาง iberry กำหนดไว้เมื่อเกิดเหตุผิดปกติในแต่ละสาขา เช่น บริการโทรตามพนักงานที่รับผิดชอบประจำสาขานั้นกลับมาดูแลและแก้ไข พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของร้านทราบ

ซอฟต์แวร์บริหารร้านเพื่อแผนการตลาดที่ดี ด้านการบริหารร้านสาขา คุณปลาได้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์สำหรับธุรกิจห้องอาหารของบริษัท กีออสโต้ จำกัด ชื่อ Kiosque ในทุกสาขา ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลยอดขายในแต่ละวันของแต่ละสาขาออนไลน์ไปรวมกันที่สำนักงานใหญ่ทุกสิ้นวัน ทำให้คุณปลาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายและข้อมูลต่างๆ รู้ว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งปีมีอะไรถูกขายไปบ้าง แยกเป็นอะไรบ้าง ตัวไหนขายดี ช่วงไหน เสาร์ อาทิตย์ อะไรขายดี หรือหน้าหนาวขายดีหรือไม่ ทำให้คุณปลารู้ว่าจะวางแผนการตลาดอย่างไร “เมื่อก่อน ถ้าอยากทราบว่าไอศกรีมรสใดขายดี ต้องมานั่งไล่บิลแล้วบวกเอง ซึ่งใช้เวลานาน แต่เมื่อมีระบบ เราจะรู้ว่าเราขายได้เท่าไร ขายอะไรได้บ้าง จากจุดนี้เราสามารถรู้แนวทางสำหรับวางแผนการตลาดที่ดีได้”

ส่วนการควบคุมการขายไอศกรีมของพนักงานมิให้มีการทุจริต คุณปลาใช้วิธีชั่งน้ำหนักไอศกรีมที่เหลือแต่ละถังไว้ เพื่อหาปริมาณไอศกรีมที่ขายไปในแต่ละวัน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณที่ควรขายได้จากข้อมูลยอดขายที่ได้รับจากระบบ ซึ่งผลต่างบวก-ลบไม่ควรเกิน 5-10% ซึ่งเป็นการป้องกันการทุจริตของพนักงานได้วิธีหนึ่ง แต่คุณปลาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “บางทีการทำธุรกิจก็อย่าไปซีเรียสมากเกินไป อาจหลับหูหลับตาบ้าง เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้เป๊ะๆ”การตรวจสอบและควบคุมพนักงาน

เทคโนโลยีอีกอย่างที่iberry นำมาใช้บริหารจัดการพนักงาน แม้จะมีความเชื่อใจ และมีการควบคุมพนักงานด้วยการแบ่งสายบังคับบัญชาได้ในระดับหนึ่ง ก็คือ การติดตั้งระบบ CCTV เพื่อดูแลและติดตามพฤติกรรมของพนักงานภายในร้านทุกสาขาได้ตลอดเวลาไม่ว่าเจ้าของร้านจะอยู่ตรงส่วนไหน เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็พอ โดยคุณปลากล่าวว่า “ตอนนี้เราทดลองติดตั้ง CCTV ไปสาขาเดียว เพื่อดูว่าเด็กที่ร้านทำอะไรอยู่ หรือมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งปลาสามารถดูออนไลน์ที่บ้านได้” ตรงจุดนี้ช่วยแก้ปัญหาที่ iberry มีหลายสาขา ซึ่งเจ้าของร้านไม่สามารถเข้าไปดูแลทุกสาขาด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีอนาคตที่ไม่หยุดยั้งของ iberry สำหรับในอนาคตทาง iberry ก็ไม่หยุดระบบไอทีไว้เพียงแค่นี้ แต่มีแผนการนำไอทีมาใช้ในเรื่องของการจัดการแบ็กออฟฟิศให้ดีขึ้น สามารถติดตาม ตรวจสอบข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อการบริหารงานในลักษณะที่เจาะลึกขนาดที่ว่า ไอศกรีมถาดนี้ใช้วัตถุดิบอะไรบ้างในการผลิต แต่ละชนิดจะผลิตส่งมาเท่าไร เมื่อไร และสามารถกลับไปตรวจสอบได้ตั้งแต่เริ่มต้นเลย เช่น สมมติว่านมถังนี้ผลิตไอศกรีมเป็นถาด ส่งไปที่ไหนบ้าง เนื่องจากถ้ามีปัญหาเราสามารถดึงไอศกรีมเหล่านั้นกลับมาตรวจสอบได้ทันเวลา เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และเป็นการรับประกันคุณภาพของไอศกรีม iberry ด้วยนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ไอทีในธุรกิจในสไตล์ iberry ร้านไอศกรีมโฮมเมดแบบไทยๆที่น่าติดตาม



2. ผู้บริหารสามารถใช้ ICT ตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างไร อธิบาย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม



1.) ประโยชน์ที่ร้านไฮศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดบ้างด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน และ การบริการการส่งไอศครีม Iberry

1.1ด้านการสั่งซ้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน เนื่องจาก ร้านมีสาขา เยอะ แล้วในการจำหน่วยไอศครีม อาจจะมีบางช่วงที่ลูกค้าหนาแน่น จึ่งทำให้วัตถุดิบภายในร้านหมดลง ในการนี้ที่ร้าน ใช้ระบบ It จึงมีความจำเป็น ในด้านการสั่งซื้อของโดยตรงจาก สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดส่งวัตถุดิบเข้าร้านไอศครีม Iberry

1.2การบริการด้านการส่งไอศครีม Iberryทางร้านอาจจะใช้การสั่งซื้อ ผ่านระบบเครือข่าย Internet หรือ ระบบ Network แล้วในการส่งก็ต้องใช้ความชำนาญทางร้านไอศครีม ก็อาจจะ ใช้ ระบบ GPRS เข้ามาช่วยในระบบการส่งไอศครีม ให้กับผู้ที่สั่งซื้อ เป็นต้น

2.) ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม lberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้างร้านไอศครีม Iberry สามาถนำไอทีเข้ามาช่วยงานในด้าน การขาย และการจัดส่ง2.1 ในด้านการขาย ทางร้านอาจจะนำระบบ อินเทอร์เน็ต ในการทำเวปไซด์ ของกิจการร้านเพื่อทำให้ ผู้บริโภคได้รู้จัก ร้านไอศครีม Iberry มากยิ่งขึ้น

2.2 การจัดส่ง เนื่องด้วยเป็นร้านไอศครีมการจัดส่งในแต่ละครั้ง จึงควรต้องมีความรวดเร็วในการจัดส่งไอศรีม ทางร้านจึงอาจจะนำระบบ GPRS เข้ามาช่วยระบบตำแหน่งที่จัดส่งอย่างแม่นยำ และจะช่วยลดเวลาในการหา ตำแหน่งที่จัดส่ง อีกด้วย

3.) จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหาร้านไอครีม lberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบแนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ร้านขายไม้ดอกและไม้ประดับ

3.1 ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ และควบคุมระบบการปล่อยน้ำลดต้นไม้

3.2 นำเอาระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยระบบ Network Camera เข้ามาใช้ภายในร้าน ทำให้สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา และทราบถึง สภาพของต้นไม้ ที่เราเลี้ยงไว้ขายอีกด้วย

3.3 ใช้ระบบ Internet เข้ามามีบทบาทในการโปรโมทร้าน เพื่อทำให้บุคคล หรือผู้ที่สนใจ ได้รู้จัก ร้านขายไม้ดอกไม้ประดับ ดีมากยิ่งขึ้น และเขียน Forum เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ ในพันธ์ ไม้ ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน

3.4 ใช้ระบบ เครื่องข่าย Network หรือ Internet ในการสั่งซื้อหรือจัดจำหน่าย และใช้ระบบ GPRS



1 .บริษัทการบินไทยนำ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจการบินอย่างไรบ้าง? (10 แนน)



การบินไทย เปิดตัวโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary ให้บริการข้อมูลการบิน แก่ลูกค้า และผู้โดยสาร ผ่านระบบมือถือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 ฉลองการบินไทย ครบรอบ 50 ปี พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจสายการบินรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการข้อมูล ด้านตารางบิน เที่ยวบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมไมล์สะสม และข้อมูลด้านคลังสินค้าและไปรษณียภัณฑ์การบินไทย ให้แก่ลูกค้าและผู้โดยสารโดยตรง ผ่านทาง SMS บนโทรศัพท์มือถือ ในรูปแบบ Mobile Service ของการบินไทย ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 สถาบัน คือการบินไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ ATCI เพื่อสนับสนุนและยกมาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ของประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม Airline Industry นาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 นี้ เป็นโครงการพัฒนาและประยุกต์ระบบสารสนเทศอันทันสมัยมาสนับสนุนหรือต่อยอดใน งานบริการข้อมูลทางด้านธุรกิจการบินของการบินไทย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้โดยสารและลูกค้าที่ต้องการทราบข้อมูลการบินของการบินไทย อาทิ ข้อมูลด้านตารางบิน เที่ยวบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมสะสมไมล์ ตารางการขนส่งสินค้า หรือ Cargo Flight Schedule และเกมส์ ผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือ(Smart Phone) ในรูปแบบของ Mobile Services ซึ่งง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งระบบนี้ได้ริเริ่มจากพนักงานการบินไทย จากหลายหน่วยงานได้ร่วมกันคิดค้น และพัฒนาระบบดังกล่าวด้วยตนเอง และผลงานที่ได้จากโครงการฯ นี้ จึงทำให้ การบินไทย จัดเป็นสายการบินแรกของโลกที่ได้พัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับ ตารางการขนส่งสินค้า หรือ Cargo Flight Schedule และเกมส์ ผ่านทางระบบมือถือ

สำหรับ ระบบ Mobile Services ของโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 นี้ ประกอบด้วย

1.บริการข้อมูลการบินตอบกลับอัตโนมัติ (SMS Query) ผ่านเมนูบน DSTK Sim ผู้โดยสารและลูกค้าจะได้รับข้อมูลเที่ยวบิน ตารางการบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมสะสมไมล์ และข้อมูลด้านคลังสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ของการบินไทย ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

2.บริการข้อมูลการบินตอบกลับอัตโนมัติ ผ่านการสั่งการด้วยเสียง (Speech Recognition)ผู้โดยสาร และลูกค้า สามารถทราบข้อมูลเที่ยวบิน ตารางบิน ข้อมูลการส่งสินค้า ตรวจสอบคะแนนไมล์สะสม และตรวจสอบการสำรองที่นั่ง เป็น Return SMS ผ่านการสั่งการด้วยเสียงพูดของตน

3.Mobile Game : LITTLE CAPTAIN เป็น Mobile Game น่ารักที่การบินไทยมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่จะมอบให้เป็นของขวัญให้กับผู้โดยสารและลูกค้าของการบินไทยและทุกคนทั่ว โลก ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่าง การบินไทย และบริษัทผู้ผลิตเกมส์คนไทย โดย การบินไทย จะเป็นสายการบินแรกของโลกที่พัฒนา Mobile Game ให้ผู้โดยสารและลูกค้าได้เล่นผ่าน iPhone, iPod Touch และ iPAD โดยผู้เล่นจะทำหน้าที่เป็นกัปตันบังคับ เครื่องบินไปลงจอดยังจุดบินต่างๆ ที่การบินไทยให้บริการ ได้อย่างสนุกสนาน และตื่นตาตื่นใจกับฉากสุด น่ารักของเกมส์นี้ ขณะเดียวกัน LITTLE CAPTAIN ยังได้มี Application ของ Flight Monitor ที่จะช่วยเตือนให้ผู้เล่นได้รับทราบถึงสถานะปัจจุบันของเที่ยวบินที่ต้องการ ได้ตลอดเวลา (Flight Monitor) พร้อมทั้ง สามารถเลือกดูข้อมูลโปรโมชั่นของการบินไทยหรือจะเชื่อมต่อไปยังเว็ปไซต์ http://m.thaiairways.com ได้อีกด้วย

4.บริการ Widgets/Gadgets และ Web Script โดย แสดงข้อมูลการบินและการบริการของการบินไทย เพื่อให้ผู้พัฒนาเว็ปไซต์ (Web Site Developer) ผู้พัฒนาบล็อก (Blog Developer/Bloger)ผู้สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SocialNetwork Builder) และอื่นๆ สามารถนำข้อมูลของการบินไทยไปเผยแพร่แก่สมาชิกได้สำหรับ ความร่วมมือระหว่าง การบินไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) หรือ SIPA และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ ATCI ในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาส และสนับสนุนให้นักพัฒนาและผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย ได้พัฒนาและยกระดับมาตรฐานของตนเองให้ก้าวไปสู่ในธุรกิจการบินหรือ Airline Industry ต่อไป โดยการบินไทยจะเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องข้อมูลด้านการบินให้กับนักพัฒนาและ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย และพร้อมที่จะเป็นประตูนำผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศของคน ไทยไปสู่สายตาชาวโลกต่อไปในอนาคต สำหรับ SIPA และ ATCI จะให้ความร่วมมือในการคัดเลือก และจัดหานักพัฒนาและผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของคนไทยที่มีคุณภาพมาร่วมผลิต ซอฟต์แวร์ให้กับการบินไทยดร.จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA กล่าวว่า SIPA เป็นองค์กรภาครัฐที่มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และบริการด้านซอฟต์แวร์ให้ได้มาตรฐานสากล ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นมิติใหม่ที่องค์กรภาครัฐและเอกชนจะช่วยกัน พัฒนาอุสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้า โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่มีความสามารถและได้แสดง ศักยภาพให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับนานาชาติมาหลายต่อหลายครั้ง ซึ่ง SIPA ยังได้มีโครงการในการสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Thailand ICT Awards หรือ TICTA ที่ได้ร่วมมือกับสมาคม ATCI จัดการประกวดและสนับสนุนตัวแทนจากประเทศไทยส่งผลงานเข้าประกวดในงาน Asia Pacific ICT Alliance Awards หรือ APICTA จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศกลับมา ความร่วมมือในโครงการ IT Sparkling ครั้งนี้ SIPA ถือเป็นเกียรติที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของคน ไทยให้ได้มีโอกาสในการแสดงผลงานออกสู่สายตาชาวโลก SIPA ต้องขอขอบคุณการบินไทย ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ไทยได้นำข้อมูลอันมีค่ามาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งขอขอบคุณสมาคม ATCI นความร่วมมือที่ดีต่อกันเสมอมา SIPA มั่นใจว่าความร่วมมือครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลงานซอฟต์แวร์ที่มีความโดดเด่น ตอบโจทย์ทางธุรกิจการบินและประกาศศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยให้ชาวโลกได้ ชื่มชมผ่านการบินไทย สายการบินที่นานาชาติ



2. จงอธิบายคำต่อไปนี้ Diaster Recovery, Transaction Processing, Virtual Tape Server, Data Recovery, Royal e-Ticketing

1)ฝันร้ายของธุรกิจเกิดขึ้นได้หากมีความล้มเหลวของระบบ หนทางที่จะทำให้ระบบกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด คือการนำข้อมูลกลับมาจากระบบสำรองข้อมูล เหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 และวินาศภัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา คงทำให้ทุกคนทราบดีว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอย่างไร เป็นผลให้บริษัทน้อยใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย มีการตื่นตัวในเรื่อง Disaster Recovery การป้องกันภัยและกู้คืนระบบ เพราะมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ต้องล่มสลายไปพร้อมๆ กับเหตุการณ์เหล่านั้น เบื้องหลังของบริษัทเหล่านั้นที่ไม่สามารถหวนคืนกลับสู่เส้นทางธุรกิจได้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่มีระบบป้องกันและสำรองข้อมูลที่ดีพอ ทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญต่อธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ต้องสูญสลายไปกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การบินไทย 1 ชั่วโมง 10 ล้าน เสียไม่ได้ ตลอดเวลากว่า 42 ปีที่ผ่านมา การบินไทย ในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ ได้เติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จนี้ คือระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการนำไอที มาใช้ร่วมในการพัฒนาระบบงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน การเช็คอิน และงานบริการต่างๆ แน่นอนในระบบงานที่ใหญ่โต และเป็นส่วนสำคัญที่สุดขององค์กรจำเป็นจะต้องมีแผนการ หรือมาตรการที่จะมารองรับกับสถานะการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบให้เกิดความเสียหาย โอกาสนี้ คุณบุหงา กรวินัย ผู้อำนวยการฝ่ายงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเปิดเผยถึงหลักการและมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นและระบบแบ็กอัพให้กับ eLeader

เริ่มต้นที่ภาพรวมของการบินไทย คุณบุหงาได้สรุปภาพรวมของการบินไทยว่าเป็นสายการบินแห่งชาติที่มีภาระกิจหลักในการให้บริการการขนส่งทางอากาศของประเทศ ปัจจุบันมีเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ ทั้งสิ้น 77 เมืองใน 34 ประเทศทั่วโลก มีรายได้ปีละ 130,000 ล้านบาท ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้หลักมาจากการขนส่งผู้โดยสาร อาจจะกล่าวได้ว่าเบื้องหลังของความสำเร็จนี้มาจากความทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจของพนักงานการบินไทยทุกฝ่ายตลอดเวลา 24ชั่วโมง7วันคือให้บริการแบบไม่มีวันหยุด

การบินไทยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการเชื่อมโยงระบบทั้งหมดของทั้งบริษัทเข้าด้วยกันเปรียบเสมือนกับเป็นกระดูกสันหลังที่คอยควบคุมในการจัดการธุกิจให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบงานไอทีของการบินไทยนั้นมีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่น่าเชื่อถือของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นระบบงานอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ในโลกยุคดิจิตอลนี้การบินไทยก็ได้มีการนำระบบอีคอมเมิรซ์มาใช้ในการบริการผู้โดยสารภายใต้ชื่อ Royal e-Service ประกอบด้วย Royal e-Booking เป็นระบบงานสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ของการบินไทย ด้วยเหตุนี้ผู้โดยสารสามารถเลือกดูเที่ยวบิน วันเวลา ราคาบัตรโดยสาร สำรองที่นั่ง หรือยกเลิกการสำรองที่นั่ง ได้อย่างสะดวกง่ายดายตลอด 24 ชั่วโมง อีกระบบคือ Royal e-Ticketing ระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการยกหูโทรศัพท์เพื่อสำรองที่นั่งผ่านสำนักงานของการบินไทย หรือผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อไปจองตั๋วโดยสาร 2 ) ศูนย์คอมพิวเตอร์ 2 ศูนย์กับอุปกรณ์ 2 ชุด ระบบงานหลักของการบินไทย เกือบจะทั้งหมดทำงานอยู่บนเมนเฟรม เนื่องจากลักษณะของงาน นั้นมีความจุสูง อีกทั้งยังต้องการความเร็วสูงสำหรับการประมวลผลอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการจัดเตรียม Backup & Recovery plan ไว้ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในส่วนของฮาร์ดแวร์จะต้องมีขีดความสามารถที่จะรองรับงานทุกระบบ งานต่างๆ ของการบินไทยมีอยู่หลายส่วนด้วยกันในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้ระบบงานหยุดชะงัก จำเป็นที่จะต้องจัดการระบบงานที่มีความสำคัญมากให้สามารถทำงานได้ก่อนระบบอื่นๆ ซึ่งลำดับในการจัดการได้มีการกำหนดเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะนำระบบให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

การบินไทยมีศูนย์ประมวลผลหลักอยู่ 2 ศูนย์ โดยอุปกรณ์ที่ศูนย์ทั้งสองจะมีความสามารถที่ใกล้เคียงกัน คุณบุหงา ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์คอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งแห่งมาจาก การที่การบินไทยนั้นให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์ หากศูนย์หนึ่งเกิดปัญหาขึ้นอีกศูนย์หนึ่งก็สามารถทำหน้าที่แทนได้ทันที แต่อาจจะทำงานได้ในระดับที่ไม่เต็มร้อย แต่ยังสามารถที่จะให้บริการต่อไปได้ และในช่วงนี้ก็จะมีการแก้ไขในจุดที่มีปัญหาในศูนย์ที่ล่มเมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะกลับไปใช้งานที่ศูนย์เก่าดังเดิมคุณบุหงาได้ให้ข้อมูลว่า แม้ว่าการบินไทยจะมีศูนย์คอมพิวเตอร์อยู่ 2 ศูนย์แต่ศูนย์ที่สองนี้ ก็มิได้เรียกว่าเป็นศูนย์สำรองเนื่องจากมีการใช้งานตลอดเวลาทั้งสองศูนย์ โดยในแต่ละศูนย์จะมีการใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันศูนย์หนึ่งใช้ MVS (Multiple Virtual Storage) หรือ OS/390 สำหรับระบบงานสนับสนุน ส่วนอีกศูนย์จะใช้ TPF (Transaction Processing Facility) สำหรับระบบงานหลักของการบินไทยจะเปิดใช้งานพร้อมกันทั้งสองศูนย์ แต่สาเหตุที่ใช้คนละระบบนั้นเกิดจากการที่ค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันสูงกว่าฮาร์ดแวร์

โครงสร้างของการทำงานนั้น ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์แต่ละศูนย์จะมีคอมพิวเตอร์อยู่ทั้งหมดสองชุดเพื่อใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเครื่องแรกใช้ในระบบงานคอมเมอร์เชียล (commercial Systems) เพื่อสนับสนุนการขาย การบริการ ออกบัตรโดยสาร ตลอดจนการตรวจรับผู้โดยสารขาออก เป็นต้น โดยเครื่องที่สอง ใช้สำหรับระบบงานสารสนเทศที่สนับสนุนระบบปฏิบัติการ ตลอดจนการวางแผนและการตัดสินใจ เช่น ระบบครัวการบิน ระบบซ่อมบำรุงเครื่องบิน ระบบบริหารพัสดุ ระบบจัดตารางบินและระบบอื่นๆ ดังนั้นทั้งสองศูนย์จึงมีเมนเฟรมอยู่ 4 เครื่อง คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้ง 4 เครื่อง จะเปิดไว้ตลอดเวลาคือลักษณะเป็น Warm Site ถ้าศูนย์ใดศูนย์หนึ่งมีปัญหาเราจะย้ายระบบมาอีกศูนย์หนึ่งทันที โดยจะต้องมีการกู้ข้อมูลให้ระบบถอยกลับไปก่อนที่จะถึงจุดที่มีปัญหา ข้อมูลจะมีการบันทึกเหมือนกันทั้งสองศูนย์ ระบบ TPF จะเขียนข้อมูลทั้งสองข้างเหมือนกัน แต่ OS/390 จะเขียนฝั่งหนึ่งให้เสร็จก่อน แล้วจึงเขียนอีกฝั่งหนึ่ง และยังมีการใช้ระบบ Virtual Tape Server (VTS) ให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนอย่างคุ้มค่า การสตาร์ตระบบคอมเมอร์เชียลอย่าง TPF ถ้าทุกอย่างพร้อมสามารถเปิดระบบภายในเวลา 5 นาที ผู้ใช้งานจึงเริ่มใช้งานได้ ส่วนระบบ OS/390 จะพร้อมใช้งานภายในเวลา 30 นาที หากเลยเวลาที่กำหนดไปแล้วนั้น จะต้องนำเอาแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) หรือ Business Continuity Plan มาใช้เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในเรื่องการแบ็กอัพข้อมูล คุณบุหงาอธิบายถึงวิธีการสำรองข้อมูลของการบินไทยว่า "เราคำนึงถึงการสำรองข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และมีการสำรองข้อมูลเก็บในเทปเสมอ "นอกจากนี้เรายังได้คุยกับคุณประเวช แคลลา ผู้จัดการกองปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์และสื่อสารของการบินไทย ซึ่งให้ข้อมูลเสริมว่า "สมัยก่อนข้อมูลยังมีไม่มากเราสามารถสำรองข้อมูลทั้งหมด แต่ปัจจุบันจำนวนข้อมูลได้เพิ่มมากขึ้นเราไม่สามารถ ที่จะจัดเก็บทั้งหมดจึงต้องมีวิธีการจัดการ โดยสำรองข้อมูลเฉพาะ ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนเป็นต้น" บทสรุปความสำเร็จการบินไทย คุณบุหงากล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับการทดสอบความพร้อมอยู่เสมอเพื่อที่จะรองรับสถานะการณ์ในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดปัญหาขึ้น ระบบสำรองจำเป็นที่จะต้องทำงานได้จริง เพื่อให้งานต่างๆ สามารถทำต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา ดังนั้นเราจึงมีการทดสอบสลับการปฏิบัติการระหว่างศูนย์ทั้งสองทุก 3 เดือนไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ส่วนการทำ Data Recovery นั้นจะทำทุกสองเดือน ในการทดสอบจะมีการสมมติสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ให้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด จะมีสคริปต์ในการทดสอบ โดยในการทดสอบจะต้องกระทบกับระบบงานหลักให้น้อยที่สุด

จากข้างต้นคงจะเห็นแล้วว่าเบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดของการบินไทย มาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนการในการเตรียมพร้อมการรับมือสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ความสำเร็จตลอดระยะเวลา 42 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นบททดสอบความมีประสิทธิภาพของการบินไทยอย่างดีเยี่ยม นอกเหนือจากนั้นก็มาจากระบบการสำรองข้อมูล และแผนการกู้คืนอย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ถือได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ว่า การสำรองข้อมูล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด



1.ให้อธิบาย blog,twitter,facebook เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร



ตอบ ข้อเหมือนกัน คือ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ข้อแตกต่าง คือ " บล็อก"(Blog) บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดหน้าตาที่แสดงของเรื่องที่เขียนได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก

"ทวิตเตอร์ "( Twitter) ทวิตเตอร์ ก็คล้ายๆ กับบล็อก เพียงแต่ใส่ ข้อมูล ได้สั้นกว่า ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ twit-ter.com ก็ใช้งานได้ติดตาม ข้อความในทวิตเตอร์ได้ จากโทรศัพท์มือถือ ผู้ส่งข้อความ อาจส่งข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร แต่ข้อดีคือติดตามอ่านได้ทุกเวลา สั้น ง่าย และรวดเร็ว ทวิตเตอร์ ถูกใช้ในการนัดชุมนุม เผยแพร่ข้อมูล ส่งที่อยู่เว็บฯที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป เป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐ

"เฟซบุ๊ก" (Facebook) เป็นเว็บไซท์ข้อมูลของคุณเอง และนำไปเชื่อมโยงกับ หน้าโปรไฟล์ face book ของคนอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ สามารถส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนตัวต่อตัว หรือจะส่งข้อความหาเพื่อนกลุ่มใหญ่ในครั้งเดียวก็ทำได้ Face book จะเน้นในเรื่องของแอพพลิเคชั่น และการใช้งานที่ดูเป็นทางการ Face book คือ ผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริง และ E-mail เดียวกันในการลงทะเบียน Skin ของ Face book นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่มีข้อดีคือ มีโทนสีที่สว่าง ทำให้ผู้ใช้ทุกช่วงอายุ สามารถอ่านได้อย่างสบายตา จะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง เป็นเว็บที่นิยมกันทั่วโลกทำให้เราสามารถมีการแลกเปลี่ยนสื่อสารภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นเว็บที่เป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับองค์กรของตนเองไปยังบุคคลต่างๆ รอบๆ ตัวเรา โดยสิบเอกณัฐพงศ์ ชนะพงศ์ฐิติวัสส์