ยินดีต้อนรับทุกท่าน














วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรมแบบสากล


วิธีเขียนบรรณานุกรมการอ้างอิงผลงานวิจัย
การอ้างอิงโดยแทรกไปในเนื้อหาการอ้างอิงในการเขียนผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการสอนตำรา วิจัย หรือ บทความทางวิชาการเลือกแบบของการอ้างอิงได้หลายแบบที่มีใช้กันอยู่ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบสากลนิยม คือ

1. การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา

2. การลงเชิงอรรถ

• การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหาการอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรนำไปใช้ในการเขียนตำรา ข้อดี ข้อเสียของวิธีแบบนี้ มีดังนี้วิธีการอ้างอิงแทรกปนไปกับเนื้อหานั้นมีข้อดี คือ

1. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดพิมพ์เหมือนกับการอ้างอิงไว้ท้ายหน้าในรูปเชิงอรรถ

2. ไม่เสียเวลาในการจัดทำรายละเอียดของเอกสารที่อ้างอิงชี้ในรูปแบบเชิงอรรถ เพราะจะจัดทำรายละเอียดไว้ครั้งเดียวในบรรณานุกรม

3. ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาและคอยระวังให้ถูกต้องตามแบบแผนสากล

4. ไม่เสียเวลาคอย ระวังเนื้อที่ท้ายหน้าไว้ให้พอพิมพ์รายละเอียดเชิงอรรถให้ครบตามจำนวนที่อ้างในแต่ละหน้าส่วนข้อเสียนั้นได้แก่

1) ผู้อ่านอาจมีความรู้สึกรำคาญที่ความคิดในการติดตามอ่านเนื้อหาอาจจะสะดุดเป็นช่วง ๆ เนื่องจากมีวงเล็บอ้างแทรกอยู่เป็นระยะปนไปทั่วในทุกหน้าโดยเฉพาะผู้อ่านทางสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการอ้างอิงแบบนี้

2) ผู้อ่านไม่สามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่อ้างถึงในทันที เพราะรายละเอียดทั้งหมดจะรวมไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่มแห่งเดียวแต่ในขณะที่กระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนในเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนไปกับเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษน้อยลงมาก ช่วยในการลดเงินค่าใช้ง่ายในการจัดพิมพ์ได้มาก

การอ้างอิงแทรกไปในเนื้อหา(ระบุนาม-ปี)

1. ผู้แต่งคนเดียว ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ใช้นามสกุลเท่านั้น ถ้าเป็นคนไทยลงนาม และนามสมมุติตามหลัง ถึงแม้เขียนเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศก็ตาม เพราะถือเป็นแบบที่สากลยอมรับแล้วว่า ประเทศไทยใช้เช่นนี้ (พรจันทร์ จันทรวิมล 2518:9) (Lowe 1987:98-40) (Carr et al. 1947:30-31) (จันทร์ศิริ แท่นมณี และคนอื่น ๆ 2528:58) 2. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน (สมาคมบาลี-สันสกฤต 2523:9-14) (วัดเพรียงเพชรบุรี 2530:35) ถ้าสถาบันนั้น เป็นหน่วยงานรัฐบาลอย่างน้อยต้องเริ่มต้นระดับกรม (กรมการฝึกหัดครู 2525:39) (สหวิทยาลัยทวารวดีเพชรบุรี 2528:62-64) หรือลงชื่อเฉพาะของสถาบันที่มีผลงานมาก เช่น (หอสมุดแห่งชาติ 2530:148) (วิทยาลัยครูเพชรบุรี 2524:32)

คณะกรรมการมี 2 แบบ คือ คณะกรรมการที่มีสำนักงาน เป็นอิสระ ใช้ลงนามคณะกรรมการนั้นเลย (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2520:42-45) ถ้าคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งโดยสถาบันเพื่อมอบหมายหน้าที่เฉพาะ ให้ถือเป็นส่วนของสถาบันต้องลงนามสถาบันหลักก่อน (American Library Association, Reference and Adult Services Division (Standards Committee 1976:973-974) สถาบันอื่น ๆ (ธนาคารกรุงเทพจำกัด 2525 : 30) (โรงพิมพ์คุรุสภา 2530:14) สำหรับการลงผู้แต่งที่เป็นสถาบันนั้น สามารถทำได้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ใช้อักษรย่อของสถาบันนั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ข้อความในวงเล็บนี้ยาวเกินไป แต่ข้อสำคัญอักษรย่อนั้นต้องเป็นทางการหรือเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Association of American University Professors ลงผู้แต่งไว้ว่า (AAUP 1990:184) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงผู้แต่งไว้ว่า (ก.พ. 2523:45) องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ. 2519:16)

3. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม พิมพ์คนละปีและต้องการอ้างถึงพร้อมกัน (ล้อม เพ็งแก้ว 2527:16, 2520:90, 2524:16) (ธนู บุณยรัตนพันธ์ 2516:42, 2517:90, 2530:20)

4. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม บางเล่มพิมพ์ปีซ้ำกัน ให้ใช้ a b c d ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ใช้ ก ข ค ง ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาไทย (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2527 ก:57) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ก:3-16) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ข:33-38)

5. ผู้แต่งไม่ปรากฏชื่อ ให้ลงชื่อเรื่องเลย (หนทางแห่งความสงบ 2487:19-20)

6. ผู้แต่งไม่ปรากฏ มีแต่ผู้ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการรวบรวม (Anderson, ed. 1950:95) (สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ผู้รวบรวม 2529:43) (สุขสมาน ยอดแก้ว, บรรณาธิการ 2525 : 67)
ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องที่มักจะพบในการตรวจผลงานทางวิชาการ(นำเสนอแต่เรื่องของการวิจัย) มีดังต่อไปนี้ งานวิจัย

1 หัวข้อเรื่องกับการนำเสนอไม่รับกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน

2 ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย

3 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างไม่เหมาะสม ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนที่ดีของมวลประชากร

4 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลไม่เหมาะสม หรือไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีการหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ความ เที่ยงตรง (validity) ของเครื่องมือ ไม่มีการทดลองใช้ก่อน

5 คำถามในแบบสอบถามมีลักษณะไม่ดี

6 ตั้งจุดมุ่งหมายไม่ชัดเจน

7 ตั้งสมมุติฐานโดยขาดทฤษฎี หรือเหตุผลสนับสนุน

8 ผลการค้นคว้าไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

9 ไม่มีการพิสูจน์สมบุมิฐานที่ตั้งไว้

10 เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่รวบรวมมาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะวิจัย

11 วิธีการวิจัยและการแปลผลไม่น่าเชื่อถือ

12 การอภิปรายผลการวิจัย ไม่ได้นำเอาผลการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ และขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ดี

13 ข้อเสนอแนะ ไม่ได้เสนอแนะจากผลการค้นคว้าวิจัย

14 ใช้สถิติที่ไม่เหมาะสม

15 เขียนสูตรสถิติผิด

16 บรรณานุกรมบางเล่มส่อเจตนาว่าไม่ได้อ่านจริง

17 เขียนเชิงอรรถ และบรรณานุกรมผิด

18 เรื่องที่วิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์น้อย

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาไทยชุดที่ 1

บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่ได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ประเสริฐ ศรีไฟโรจน์. เทคนิคทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก, 2539.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง/และ/ชื่อผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/,/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. วาสนา ไตรพฤฒิธัญญา และ ปิยะ นิมิตยสกุล. ไมโครซอฟอ็กเซลสำหรับวินโดวส์' 95. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2539.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิพม์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. สวัสดิ์ สายประดิทธิ์, มงคล สำอางศ์กุล และ สมบูรณ์ วัฒน์วรพงศ์. สอบบรรจุเข้ารับราชการครูอาจารย์ ระดับ 1-2-3. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา, 2539.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไปให้ใช้ชื่อผู้แต่คนที่ต่อต่อด้วยคำว่า "และคนอื่น ๆ" หรือ "และคณะ" มีรูปแบบดังนี้ ผู้แต่งคนที่หนึ่ง และคนอื่น ๆ.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีทีพิมพ์. วิไล ตั้งจิตสมคิด.และคนอื่น ๆ. การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2539.

การเขียนบรรณานุกรมภาษาไทยชุดที่ 2บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ. ราชสดุดีมสดเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณใน งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระเวรุมาศท้องสนามหลวง)

วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์,/"ชื่อวิทยานิพนธ์,"/วิทยานิพนธ์ระดับใด/ภาควิชา/และ/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์ จรรยาพร บุญเหลือ. "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานเมืองเพชรของผู้บริโภค". วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539.

บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ,/"ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ.//เลขหน้า.//ชื่อบรรณาธิการ.//ชื่อบรรณาธิการ.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ศิริ การเจริญดี, "ปัญหาการขาดแคลนดุลบัญชีเดินสะพัด." อนาคตเศรษฐกิจไทย. 35-42. กรุงเทพมหานคร :ไทยวิจัยและฝึกอบรม, 2539.

บทความในวารสาร มีรูปแบบ 2 รูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ,"//ชื่อวารสาร.ปีที่/:/หน้า-หน้า./เดือน/ปีที่พิมพ์ สราวุธ จันทรนิภพวงศ์, "ระวังโน๊ตบุ๊กของคุณไว้ให้ดี," บิซิเนส คอมพิวเตอร์ แม็คกาซีน. 8(95) : 63-70 มกราคม 2540.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 1 บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์,/:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Dufour, Dama. Readings in Biological Anthropology. Londer : McGraw-Hill, 1995.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/และ/ผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Beer, Ferdinand P. and Johnston, E. Russell. Vector Mechanics for Engineers. 5th ed. New York : McGraw-Hill, 1995.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง;ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Schroeder, Richard Q,; Clark, Myrtle Meccellers and Brown, Jonp W. Accounting Theory. 4th ed. New York : John Wiley & Sons, 1995.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไป มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่คนที่หนึ่ง/และคนอื่น ๆ (and other หรือจะใช้ et al.).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Fuller, Thedore D. and other. Migration and Development in Modern Thailand. Bangkok : Social Association of Thailand, 1993.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 2
บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ทีอ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ
1. หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Ministry of Defence. The Royal Thaiarmed Forces. Bangkok : Amari Printing, 1996. (National Committee for Organizing the celebrations for the 50th Anniversary in Commemoration of the 50th Anniversary of His Majesty's Accession to the Throne)
2. วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียน.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับปริญญา (สาขา).//สถานที่พิมพ์./:/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Laughter for spirts, A VOW FULFILLED : The COMIC Performance of Thailand's LAKHON CHATRI DANCE-DRAMA. Doctor of Philosphy (Anthropology) (Unthropology) University of Wisconsin-Madison, 1991.
3. บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ./เลขหน้า.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Losy of Money in old Postcads." annual Report. 24. London : methuen Educational, 1995.
4. บทความในวารสาร มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.// "ชื่อบทความ".//"ชื่อวารสาร.//ปีที่/(ฉบับที่)/:/หน้า-หน้า./เดือน/, ปีที่พิมพ์. Alan Salomon, "State of the Industry,W Hotel & Motel" 16(75) : 37-39 January, 1997.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น