ยินดีต้อนรับทุกท่าน














วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนบรรณานุกรม
ในการเขียนบรรณานุกรมจำเป็นจะต้องมีการอ้างอิง บอกแหล่งที่มาของ ข้อมูลซึ่งจะปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบท
การอ้างอิงบรรณานุกรม หมายถึง การอ้างอิงแหล่งสารนิเทศซึ่งเป็นทฤษฎี ข้อมูล ความรู้ มาประกอบในผลงานทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพื่อบอกแหล่งที่มาของสารนิเทศอันเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานเหล่านั้น
การอ้างอิงที่ผู้จัดทำนำเสนอนี้เป็นระบบ APA (American Psychological Association) เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมในผลงานทางวิชาการของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิธีการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมจากสารนิเทศประเภทต่างๆ มีดังนี้
1. หนังสือ
1.1 ผู้แต่งคนเดียว
ชื่อ / ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / /ชื่อหนังสือ. / / ครั้งที่พิมพ์. / /เมืองที่พิมพ์/: /
/ / / / / / / สำนักพิมพ์.


ตัวอย่าง
เริงชัย หมื่นชนะ. (2538). จิตวิทยาธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
O’Brien, J. A. (1999). Management information : Managing Information technology in the
internet worked enterprise. 4 th ed. Boston : McGraw-Hill.
1.1.1 ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ใส่ชื่อสกุลตามด้วยอักษรย่อทั้งชื่อต้น และชื่อกลาง(ถ้ามี) โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) (,) แบ่งชื่อสกุล และชื่อต้น
ตัวอย่าง O’Brien, J. A.
Mullen, N. D.
1.1.2 ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อตามด้วยนามสกุลในกรณีที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เครื่องหมายจุลภาค (,) หลังนามสกุลและตามด้วยฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว.
อนุมานราชธน, พระยา
สุภัทรดิส ดิสกุล, ม.จ.




หมายเหตุ ไม่ต้องใส่คำต่อไปนี้
1. คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว Mr. Mrs.
2. ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ศ. รศ. Dr. Prof.
3. คำระบุอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์
1.1.3 สมณศักดิ์ ให้คงไว้ปกติไม่ต้องย้ายไว้ด้านหลัง เช่น พระเทพคุณาธาร พระเทพวาที พระพิศาลธรรมเวที
ยกเว้น ผู้แต่งที่เป็นพระสังฆราชและเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน แล้วกลับคำนำหน้าที่แสดงลำดับชั้นเชื้อพระวงศ์ไปไว้ข้างหลัง โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)
ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ

1.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ให้ลงชื่อบรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คำ “บรรณาธิการ” หรือ “ผู้รวบรวม” หรือ Ed. หรือ Eds. หรือ Comps. โดยใส่ไว้หลังเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ต่อจากชื่อบรรณาธิการ

ตัวอย่าง

เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, บรรณาธิการ. (2543). ท้องถิ่น-อินเดีย. ชลบุรี : ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Diener, H. C., &Wilkinson, M., Eds.. (1988). Drug-induced headache. New York : Springerverlag.
1.3 ผู้แต่ง 2-3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำว่า “ , และ” หรือ “, &” เชื่อมดังนี้ ถ้า 2 คนเชื่อมระหว่างชื่อ ผู้แต่งคนที่ 1 และคนที่ 2 ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ต้องกลับเอาชื่อสกุลขึ้นต้นเหมือนกัน ทั้ง 2 คน กรณี 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ระบุ ผู้แต่งให้ครบทุกคน ชื่อแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่อง
หมายจุลภาค “ , ”เช่น คนที่ 1,คนที่ 2 และคนที่ 3

ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ และสุมาลย์ บ้านกล้วย. (2525). ตัวละครในรามเกียรติ์ : ลักษณะความเป็นมา
และพฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์เปรียบเทียบกับตัวละครในมหากาพย์รามายณะ.
กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
Galton, M. & Williamson, J. (1992). Group Work in the primary Classroom. London :
Routledge.
ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
วัลลภ สวัสดิวัลลภล, สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง, และชัยเลิศ
บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า = Information for study skills and
research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

1.4 ผู้แต่งมากกว่า 6 คน
ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคนอื่นๆ” สำหรับชาวไทย “and others” สำหรับชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง

จรวย บุญยุบล และคนอื่นๆ. (2536). พลังงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cramer, R.L. and others. (1984). Language : Structure and use. 2 nd ed. Illinois : Scott.

หมายเหตุ
กรณีที่หน้าปกมีชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วย “และคนอื่นๆ”หรือ “และคณะ”ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกตามที่ปรากฏที่หน้าปกของหนังสือได้เลย เช่น
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ. (2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา =
Management Information Systems (MIS) and cases. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

1.5 สิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
ตัวอย่าง

กฎหมายตราสามดวง. (2520). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

1.6 หนังสือแปล ให้ลงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่องที่แปลแล้วตามด้วยคำว่าแปลจากเรื่องในภาษาเดิม(ภาษาต้นฉบับ (ถ้ามี)) ตามด้วย โดย ชื่อผู้แปล หากไม่มีชื่อผู้แต่งเดิมใส่ชื่อผู้แปลโดยระบุว่าเป็นผู้แปล
ชื่อ / ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อหนังสือ / แปลจากเรื่อง.. โดย.. / /
/ / / / / / / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.




ตัวอย่าง
เวลส์, ควอริช. (2519). การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ แปลและเรียบเรียงโดย
กาญจนี สมเกียรติกุล และยุพา ชุมจันทร์. กรุงเทพฯ :โครงการตำราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
ซาเว็ตซ์, เควิน เอ็น. (2539). ไขปัญหาอินเทอร์เน็ต แปลจากเรื่อง Your Internet consultant โดย
กิตติ บุณยกิจโณทัย, มีชัย เจริญด้วยศีล และอมรเทพ เลิศทัศนวงศ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เอกสารภาษาอังกฤษ ที่แปลจากภาษาอื่นให้ใช้ข้อความ“Translated by” แทนคำว่า “แปลจาก”
Hankel, Wilhelm. (1991). Prosperity amidst crisis : Austria’ s economic Policy and the energy
crunch translated by Jean Steinberg. Boulder, Colo : Westview Press.
ปราศรัย รัชไชยบุญ, ผู้แปล. (2529). ครั้งหนึ่ง…ยังจำได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนบรรณ.

1.7 หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ ได้แก่ หนังสืองานศพ หนังสือที่ระลึกในโอกาสพิเศษต่างๆ
ชื่อผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อหนังสือ. / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.
/ / / / / / / (รายละเอียดการจัดพิมพ์).




ตัวอย่าง

พุทธทาสภิกขุ. (2538). เกิดมาทำไม. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา. (ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่ท่านเจ้าคุณ
พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญา นันนทภิกขุ) เจริญชนมายุ ปีที่ 84 วันที่ 11
พฤษภาคม 2538).

1.8. บทความในหนังสือ หรืออ้างอิงบางตอน
สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ รวมเรื่องต่างๆ ในเล่มเดียวกัน
ได้แก่ สารานุกรม หนังสือรวมบทความวิชาการ รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ เอกสารการประชุม/สัมมนา
ผู้เขียนบทความ. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ
/ / / / / / / / (บรรณาธิการ ถ้ามี), / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / /
/ / / / / / / / สถานที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.



ตัวอย่าง

สุมิตร คุณานุกร. (2520). การวางแผนการสอน ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), คู่มืออาจารย์
ด้านการเรียนการสอน. (หน้า 58-69). กรุงเทพฯ : หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brow, R., & Dyer, A. F. (1972). Cell division in higher plants. In F.C. Steward (Eds.), Plant
physiology : An advance treatise. (pp. 49-90). New York : Academic press.

สารานุกรม
ผู้เขียนบทความ. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน (In) ชื่อสารานุกรม.
/ / / / / / / / (เล่มที่, / หน้า/ เลขหน้า). / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.




ตัวอย่าง

สวัสดิ์ ปัจฉิมกุล. (2527). แผนที่. ใน สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (เล่มที่ 19, หน้า
1237-2380). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
กรณีที่เอกสารใช้หน่วยงานเป็นชื่อผู้แต่ง หนังสือที่ออกในนามองค์กร สมาคม บริษัทหรือหน่วยงานทางราชการ
1. ผลงานที่เป็นของหน่วยราชการระดับกระทรวง มิได้บอกชื่อกรม ให้ลงชื่อกระทรวงเป็นชื่อผู้แต่ง เช่น
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงพาณิชย์
2. ผลงานที่เป็นเฉพาะกรมใด กรมหนึ่ง แม้มีชื่อกระทรวงอยู่ ก็ให้ลงชื่อกรมเป็นชื่อผู้แต่ง หากมีชื่อหน่วยงานระดับย่อยกว่ากรม ให้ลงไว้ในส่วนของสำนักพิมพ์ ยกเว้นสิ่งพิมพ์ของคณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆให้ลงชื่อคณะวิชานั้นต่อจากชื่อมหาวิทยาลัยโดยมีมหัพภาคคั่น (.) เช่น
กรมศิลปากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

3. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำนักงาน และเอกชน ใช้ชื่อหน่วยนั้นๆ เป็นชื่อผู้แต่ง เช่น
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงไทย จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

2 วารสาร
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร, / ปีที่หรือ
/ / / / / / / เล่มที่ (ฉบับที่), / หน้า /เลขหน้า.



(ถ้าไม่มีชื่อผู้เขียนใช้ชื่อบทความลงเป็นรายการแรก)
ตัวอย่าง
เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท. (2542, มิถุนายน – ธันวาคม). แนวคิดสันติวิธีจากกฎหมายตราสามดวง.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(8), หน้า 52-61.

คอลัมน์จากวารสาร
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / /
/ / / / / / / / ชื่อวารสาร, / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่), / หน้า / เลขหน้า.


ตัวอย่าง
สุนันท์ ศรีจันทรา. (2545, 6-12 พฤษภาคม). เกาะกระแสธุรกิจ : นักลงทุนไทยไปนอก.
เนชั่นสุดสัปดาห์, 10 (518) :หน้า 21.

3. หนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อหนังสือพิมพ์, / หน้า/ เลขหน้า.


ตัวอย่าง
ขติยา มหาสินธ์. (2545, 19 พฤษภาคม). เปิดศูนย์เทียบประสบการณ์สร้างชีวิตใหม่ให้แรงงานไทย.
มติชน, หน้า 4.

4. จดหมายเหตุ คำสั่ง ประกาศ
ชื่อหน่วยงาน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อของเอกสาร. / / เลขที่ของเอกสาร(ถ้ามี).



ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (จ.ศ. 1206). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3. เลขที่ 12.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2533, 13 กุมภาพันธ์). เรื่อง กำหนดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนประจำปีการ
ศึกษา 2534. ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา.

5. สูจิบัตร แผ่นพับ โฆษณา แผ่นปลิว และเอกสารการสอนที่ไม่เป็นเล่ม
ชื่อผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / (ลักษณะของเอกสาร). / /
/ / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.


ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม. (2545). ความรู้เรื่องประเพณีวันสงกรานต์.
(สูจิบัตร). ชลบุรี : สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. ต้นฉบับเขียน
ชื่อหน่วยงานเจ้าของต้นฉบับตัวเขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / /
/ / / / / / / ชื่อเอกสาร. / / (ลักษณะเอกสาร). / / เลขทะเบียน.


ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). บาลีพระขุททกสิกขา. (หนังสือใบลาน).
เลขที่ 3980/ก/1.
กรณีที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ภาษาไทยใช้ (ม.ป.ป.) หรือภาษาอังกฤษใช้ (n.d.)
7 ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อกฎหมาย. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ราชกิจจานุเบกษา. / / เล่ม /
/ / / / / / / ตอนที่. / / หน้า / เลขหน้า.



พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พุทธศักราช 2533. (2533, 29 กรกฎาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 131. หน้า 1-20.
8. การสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. / / (ปี, / วันที่ / เดือน). / / ตำแหน่ง (ถ้ามี). / / สัมภาษณ์.


ตัวอย่าง
ทักษิน ชินวัตร, พ.ต.ท. (2545, 29 พฤษภาคม). นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์.

9. สื่อโสตทัศนวัสดุ
ชื่อผู้จัดทำ, / หน้าที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของ
/ / / / / / / โสตทัศนวัสดุ]. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.



ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ผู้ผลิต. (2525). กฎหมายธุรกิจ. [แถบเสียง].
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

10. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
10.1 ซีดี-รอม
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต, / วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ].
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารนิเทศ.



ตัวอย่าง

Youngwood, S. (1992, February). Book publishers proliferate in vermont. Vermont business
magazine. [CD-ROM]. Sec 1, 25 : Available : UMI, File Business Dateline Ondisc, Item :
92-18178.

สาระสังเขป
Green, M., &Rogers, P. J. (1995). Impaired cognitive functioning During spontaneous
dieting. Psychological medicine. [CD-ROM]. 25(5), 1003-1010. Abstract
from : Science Citation index with abstract, disc 2 of 2, January 1995-October
1995.
อมรา พงศาพิชญ์. (2540). การมองตนเองและโลกทัศน์ของเด็กพิการตาบอด : ศึกษากรณีเด็กใน
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร. [ซีดี-รอม]. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต,
สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาระสังเขปจาก :
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 1, 2540.

ในการระบุแหล่งที่ใช้ค้นสารนิเทศให้ใช้คำว่า “เข้าถึงได้จาก :” สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย ส่วนวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “Available :” ในกรณีที่สารนิเทศที่ค้นได้เป็นเพียงบทคัดย่อหรือสาระสังเขป (Abstract) ไม่ใช่ฉบับเต็มให้ใช้คำว่า “บทคัดย่อจาก :” หรือ “Abstract from :” แทนคำว่า “เข้าถึงได้จาก :” และ “Available :” ตามลำดับ

10.2 ข้อมูลออนไลน์ หรือสารนิเทศบนอินเตอร์เน็ต
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต, / วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ].
/ / / / / / / / /รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารนิเทศ.
/ / / / / / / / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).





ตัวอย่าง
Webb, S.L. (1992, January). Dealing with sexual harassment. Small Business Report. [Online].
17, 11-14. Available : BRS, File : ABI/INFORM, Item : 00591201.
(Access date : March 1, 1992).
Garcia, G.E. (19991). Factors influencing the English reading test Performana of
spanidh-speaking hispanic children. Reading Research quarterly. [Online].
26(4)} 371-92. Abstract from : DIALOG(R), File 1 : ERIC, Item : EJ435542.
(Access date : July 1, 1992).

กระแสการปฏิรูปการศึกษา. (2545). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:///www.
moe.go.th/main2/article/article-somsak/article-somsak11.htm/.
(วันที่ค้นข้อมูล : 31 พฤษภาคม 2545).
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2544). ความสงสัยในการเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/main2/
article-somsak/article-somsak09.htm/. (วันที่ค้นข้อมูล : 31
พฤษภาคม 2545).
England, G.A. (1999). The outer world. In Robert R(Ed.). Darkness and dawn. [Online].
Available : http://www.litrix.com/darkdawn/ darkdool.htm. (Access date : May 3, 1999).
Projcet Gutenberg. (1999). [Online]. Available : ftp://mrcnext.CSO.uiuc.
edu/etext. (Access date : March 9, 1999).

หมายเหตุ
1. ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดทางการพิมพ์ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการเขียนบรรณานุกรมตามวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆ
2. ประเภทของสื่อให้ระบุว่าเป็น [ออนไลน์] หรือ [ซีดี-รอม] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย และ [Online] [CD-ROM] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศ

การลงรายการเกี่ยวข้องกับการพิมพ์

1. ครั้งที่พิมพ์ ให้ระบุตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “ed.”
ภาษาไทย ลงว่า พิมพ์ครั้งที่ 2
ภาษาต่างประเทศ ลงว่า 2 nd ed.
2. เมืองที่พิมพ์ให้ระบุชื่อเมืองที่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ลงว่า ม.ป.ท. หรือ n.p. (no place of publication)
3. สำนักพิมพ์ ระบุเฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ที่ปรากฏในหน้าปกในตัดคำประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นออก ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันอุดมศึกษาให้ระบุคำว่าสำนักพิมพ์ด้วย เช่น
McGraw – Hill Company ลงว่า McGraw - Hill
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ลงว่า ไทยวัฒนาพานิช
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด ลงว่า ซีเอ็ดยูเคชั่น
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงว่า สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0.0.0.0.0.0.
บรรณานุกรม

คณะอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชา 202101
สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. ชลบุรี : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2543). สารสนเทศและการศึกษา
ค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2541). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2541). คู่มือวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. (2538). เอกสารประกอบการเรียนวิชา สารนิเทศกับการ
ศึกษาค้นคว้า.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน-
ทรวิโรฒประสานมิตร.
วัลลภ สวัสดิวัลลภล , สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง
และชัยเลิศ บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า= Information for study skills
and research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
นครปฐม.
สถาบันราชนครินทร์. สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา. (2544). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์
ภาคนิพนธ์. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชนครินทร์.

หมายเหตุ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาของข้อมูลในการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบทของเอกสารประกอบการสอน หรือรายงานการวิจัย ผู้จัดทำได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากคู่มือต่างๆ ที่ใช้หลักการเขียนแบบ APA และประยุกต์รูปแบบบางส่วนของข้อมูล บางรูปแบบจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบของ APA



จัดทำโดย ศูนย์ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ระลึกเดือนส่งเสริมการอ่าน
การเขียนบรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย ฐานข้อมูล วารสารออนไลน์ เว็บไซต์หรือเว็บเพจ กลุ่มข่าว กลุ่มแสดงความคิดเห็น และจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิงแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ต้องอ้างถึงข้อมูลผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่เผยแพร่หรือปีที่ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด วันเดือนปีที่ค้นคืน และที่อยู่เว็บ ดังนี้

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องออนไลน์
ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้า. ค้นคืนเมื่อ,
จาก URL.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548, 11 มีนาคม). อ่านแผ่นดินฯ : กรุงเทพฯ (เป็นอะไร? มาจากไหน?) สร้าง
กรุงเทพฯ ซ้อนกรุงธนบุรี พื้นที่เดียวกัน. มติชนสุดสัปดาห์, 25 (1882), 78. ค้นคืนเมื่อ 14
มีนาคม 2548, จาก http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?
srctag=0422110348&srcday=2005/03/11&search=no
หมายเหตุ ตัวอย่างข้างบนนี้เป็นนิตยสาร นอกจากบอกปีที่เผยแพร่ ให้ใส่วันที่ และเดือนที่ระบุในเอกสารด้วย เช่น รายสัปดาห์

เอกสารออนไลน์
ผู้แต่ง. (2548). ชื่อเรื่อง. ค้นคืนเมื่อ, จาก URL.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2548). กินอาหารไทยไกลโรค. ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม
2548, จาก http://www.culture.go.th/knowledge/food/01.htm.

เอกสารที่ไม่สามารถระบุผู้แต่งและปีที่เผยแพร่ได้
ชื่อเรื่อง. (ม.ป.ป.). ค้นคืนเมื่อ, จาก URL.

สึนามิคืออะไร. (ม.ป.ป.). ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม 2548, จาก http://www.bj.ac.th/~library/ect.htm.

เอกสารที่ค้นได้จากฐานข้อมูล
ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. ค้นคืนเมื่อ, จาก ชื่อฐานข้อมูล.

สุโลจนี ศรีแกล้ว. (2535). การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์
ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่. ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม 2548, จาก ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

Desousa, R. (2004).Monodisperse polymer nanospheres: Fabrication,
chemical modifications and applications. Dissertation Abtracts
International, 65 (09), 4575B. (UMI No. AAT 3145190). Retrieved March 14, 2005, from
ProQuestDigital Dissertations Database.

ข้อความที่ส่งไปยังกลุ่มข่าว
ชื่อผู้ส่งข้อความ. (ปี, เดือน วันที่ ที่ส่งข้อความ). ชื่อข่าว. (ลำดับที่ข้อความ). ข้อความส่งไปที่.

ผู้ชายคนหนึ่ง. (2548, 14 มีนาคม). เสียงจากสตรีดีเด่นถึงรัฐบาล [ข้อความ 1]. ข้อความส่งไปที่
http://www.dialynews.co.th/lady/each.asp?newsid=48272.

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรมแบบสากล


วิธีเขียนบรรณานุกรมการอ้างอิงผลงานวิจัย
การอ้างอิงโดยแทรกไปในเนื้อหาการอ้างอิงในการเขียนผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการสอนตำรา วิจัย หรือ บทความทางวิชาการเลือกแบบของการอ้างอิงได้หลายแบบที่มีใช้กันอยู่ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบสากลนิยม คือ

1. การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา

2. การลงเชิงอรรถ

• การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหาการอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรนำไปใช้ในการเขียนตำรา ข้อดี ข้อเสียของวิธีแบบนี้ มีดังนี้วิธีการอ้างอิงแทรกปนไปกับเนื้อหานั้นมีข้อดี คือ

1. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดพิมพ์เหมือนกับการอ้างอิงไว้ท้ายหน้าในรูปเชิงอรรถ

2. ไม่เสียเวลาในการจัดทำรายละเอียดของเอกสารที่อ้างอิงชี้ในรูปแบบเชิงอรรถ เพราะจะจัดทำรายละเอียดไว้ครั้งเดียวในบรรณานุกรม

3. ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาและคอยระวังให้ถูกต้องตามแบบแผนสากล

4. ไม่เสียเวลาคอย ระวังเนื้อที่ท้ายหน้าไว้ให้พอพิมพ์รายละเอียดเชิงอรรถให้ครบตามจำนวนที่อ้างในแต่ละหน้าส่วนข้อเสียนั้นได้แก่

1) ผู้อ่านอาจมีความรู้สึกรำคาญที่ความคิดในการติดตามอ่านเนื้อหาอาจจะสะดุดเป็นช่วง ๆ เนื่องจากมีวงเล็บอ้างแทรกอยู่เป็นระยะปนไปทั่วในทุกหน้าโดยเฉพาะผู้อ่านทางสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการอ้างอิงแบบนี้

2) ผู้อ่านไม่สามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่อ้างถึงในทันที เพราะรายละเอียดทั้งหมดจะรวมไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่มแห่งเดียวแต่ในขณะที่กระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนในเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนไปกับเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษน้อยลงมาก ช่วยในการลดเงินค่าใช้ง่ายในการจัดพิมพ์ได้มาก

การอ้างอิงแทรกไปในเนื้อหา(ระบุนาม-ปี)

1. ผู้แต่งคนเดียว ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ใช้นามสกุลเท่านั้น ถ้าเป็นคนไทยลงนาม และนามสมมุติตามหลัง ถึงแม้เขียนเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศก็ตาม เพราะถือเป็นแบบที่สากลยอมรับแล้วว่า ประเทศไทยใช้เช่นนี้ (พรจันทร์ จันทรวิมล 2518:9) (Lowe 1987:98-40) (Carr et al. 1947:30-31) (จันทร์ศิริ แท่นมณี และคนอื่น ๆ 2528:58) 2. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน (สมาคมบาลี-สันสกฤต 2523:9-14) (วัดเพรียงเพชรบุรี 2530:35) ถ้าสถาบันนั้น เป็นหน่วยงานรัฐบาลอย่างน้อยต้องเริ่มต้นระดับกรม (กรมการฝึกหัดครู 2525:39) (สหวิทยาลัยทวารวดีเพชรบุรี 2528:62-64) หรือลงชื่อเฉพาะของสถาบันที่มีผลงานมาก เช่น (หอสมุดแห่งชาติ 2530:148) (วิทยาลัยครูเพชรบุรี 2524:32)

คณะกรรมการมี 2 แบบ คือ คณะกรรมการที่มีสำนักงาน เป็นอิสระ ใช้ลงนามคณะกรรมการนั้นเลย (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2520:42-45) ถ้าคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งโดยสถาบันเพื่อมอบหมายหน้าที่เฉพาะ ให้ถือเป็นส่วนของสถาบันต้องลงนามสถาบันหลักก่อน (American Library Association, Reference and Adult Services Division (Standards Committee 1976:973-974) สถาบันอื่น ๆ (ธนาคารกรุงเทพจำกัด 2525 : 30) (โรงพิมพ์คุรุสภา 2530:14) สำหรับการลงผู้แต่งที่เป็นสถาบันนั้น สามารถทำได้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ใช้อักษรย่อของสถาบันนั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ข้อความในวงเล็บนี้ยาวเกินไป แต่ข้อสำคัญอักษรย่อนั้นต้องเป็นทางการหรือเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Association of American University Professors ลงผู้แต่งไว้ว่า (AAUP 1990:184) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงผู้แต่งไว้ว่า (ก.พ. 2523:45) องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ. 2519:16)

3. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม พิมพ์คนละปีและต้องการอ้างถึงพร้อมกัน (ล้อม เพ็งแก้ว 2527:16, 2520:90, 2524:16) (ธนู บุณยรัตนพันธ์ 2516:42, 2517:90, 2530:20)

4. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม บางเล่มพิมพ์ปีซ้ำกัน ให้ใช้ a b c d ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ใช้ ก ข ค ง ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาไทย (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2527 ก:57) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ก:3-16) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ข:33-38)

5. ผู้แต่งไม่ปรากฏชื่อ ให้ลงชื่อเรื่องเลย (หนทางแห่งความสงบ 2487:19-20)

6. ผู้แต่งไม่ปรากฏ มีแต่ผู้ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการรวบรวม (Anderson, ed. 1950:95) (สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ผู้รวบรวม 2529:43) (สุขสมาน ยอดแก้ว, บรรณาธิการ 2525 : 67)
ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องที่มักจะพบในการตรวจผลงานทางวิชาการ(นำเสนอแต่เรื่องของการวิจัย) มีดังต่อไปนี้ งานวิจัย

1 หัวข้อเรื่องกับการนำเสนอไม่รับกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน

2 ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย

3 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างไม่เหมาะสม ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนที่ดีของมวลประชากร

4 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลไม่เหมาะสม หรือไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีการหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ความ เที่ยงตรง (validity) ของเครื่องมือ ไม่มีการทดลองใช้ก่อน

5 คำถามในแบบสอบถามมีลักษณะไม่ดี

6 ตั้งจุดมุ่งหมายไม่ชัดเจน

7 ตั้งสมมุติฐานโดยขาดทฤษฎี หรือเหตุผลสนับสนุน

8 ผลการค้นคว้าไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

9 ไม่มีการพิสูจน์สมบุมิฐานที่ตั้งไว้

10 เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่รวบรวมมาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะวิจัย

11 วิธีการวิจัยและการแปลผลไม่น่าเชื่อถือ

12 การอภิปรายผลการวิจัย ไม่ได้นำเอาผลการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ และขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ดี

13 ข้อเสนอแนะ ไม่ได้เสนอแนะจากผลการค้นคว้าวิจัย

14 ใช้สถิติที่ไม่เหมาะสม

15 เขียนสูตรสถิติผิด

16 บรรณานุกรมบางเล่มส่อเจตนาว่าไม่ได้อ่านจริง

17 เขียนเชิงอรรถ และบรรณานุกรมผิด

18 เรื่องที่วิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์น้อย

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาไทยชุดที่ 1

บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่ได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ประเสริฐ ศรีไฟโรจน์. เทคนิคทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก, 2539.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง/และ/ชื่อผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/,/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. วาสนา ไตรพฤฒิธัญญา และ ปิยะ นิมิตยสกุล. ไมโครซอฟอ็กเซลสำหรับวินโดวส์' 95. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2539.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิพม์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. สวัสดิ์ สายประดิทธิ์, มงคล สำอางศ์กุล และ สมบูรณ์ วัฒน์วรพงศ์. สอบบรรจุเข้ารับราชการครูอาจารย์ ระดับ 1-2-3. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา, 2539.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไปให้ใช้ชื่อผู้แต่คนที่ต่อต่อด้วยคำว่า "และคนอื่น ๆ" หรือ "และคณะ" มีรูปแบบดังนี้ ผู้แต่งคนที่หนึ่ง และคนอื่น ๆ.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีทีพิมพ์. วิไล ตั้งจิตสมคิด.และคนอื่น ๆ. การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2539.

การเขียนบรรณานุกรมภาษาไทยชุดที่ 2บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ. ราชสดุดีมสดเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณใน งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระเวรุมาศท้องสนามหลวง)

วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์,/"ชื่อวิทยานิพนธ์,"/วิทยานิพนธ์ระดับใด/ภาควิชา/และ/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์ จรรยาพร บุญเหลือ. "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานเมืองเพชรของผู้บริโภค". วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539.

บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ,/"ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ.//เลขหน้า.//ชื่อบรรณาธิการ.//ชื่อบรรณาธิการ.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ศิริ การเจริญดี, "ปัญหาการขาดแคลนดุลบัญชีเดินสะพัด." อนาคตเศรษฐกิจไทย. 35-42. กรุงเทพมหานคร :ไทยวิจัยและฝึกอบรม, 2539.

บทความในวารสาร มีรูปแบบ 2 รูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ,"//ชื่อวารสาร.ปีที่/:/หน้า-หน้า./เดือน/ปีที่พิมพ์ สราวุธ จันทรนิภพวงศ์, "ระวังโน๊ตบุ๊กของคุณไว้ให้ดี," บิซิเนส คอมพิวเตอร์ แม็คกาซีน. 8(95) : 63-70 มกราคม 2540.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 1 บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์,/:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Dufour, Dama. Readings in Biological Anthropology. Londer : McGraw-Hill, 1995.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/และ/ผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Beer, Ferdinand P. and Johnston, E. Russell. Vector Mechanics for Engineers. 5th ed. New York : McGraw-Hill, 1995.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง;ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Schroeder, Richard Q,; Clark, Myrtle Meccellers and Brown, Jonp W. Accounting Theory. 4th ed. New York : John Wiley & Sons, 1995.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไป มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่คนที่หนึ่ง/และคนอื่น ๆ (and other หรือจะใช้ et al.).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Fuller, Thedore D. and other. Migration and Development in Modern Thailand. Bangkok : Social Association of Thailand, 1993.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 2
บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ทีอ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ
1. หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Ministry of Defence. The Royal Thaiarmed Forces. Bangkok : Amari Printing, 1996. (National Committee for Organizing the celebrations for the 50th Anniversary in Commemoration of the 50th Anniversary of His Majesty's Accession to the Throne)
2. วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียน.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับปริญญา (สาขา).//สถานที่พิมพ์./:/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Laughter for spirts, A VOW FULFILLED : The COMIC Performance of Thailand's LAKHON CHATRI DANCE-DRAMA. Doctor of Philosphy (Anthropology) (Unthropology) University of Wisconsin-Madison, 1991.
3. บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ./เลขหน้า.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Losy of Money in old Postcads." annual Report. 24. London : methuen Educational, 1995.
4. บทความในวารสาร มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.// "ชื่อบทความ".//"ชื่อวารสาร.//ปีที่/(ฉบับที่)/:/หน้า-หน้า./เดือน/, ปีที่พิมพ์. Alan Salomon, "State of the Industry,W Hotel & Motel" 16(75) : 37-39 January, 1997.