ยินดีต้อนรับทุกท่าน














วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ส่งงาน อาจารย์วิเชียร

ส่งคำตอบ อาจารย์วิเชียร
1. ร้านไอสกรีม iberry นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการในการบริการ การขาย อย่างไรบ้าง อธิบาย



เทคโนโลยีไฮเทคเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม iberry Iberry ไอศครีมโฮมเมด รสชาดผลไม้ไทยๆ ก่อกำเนิดจากสองผู้บริหาร พี่น้องหนุ่มสาว ตัวอย่างคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่างคุณวิวัฒน์ และคุณอัจฉรา บุราลักษณ์ หรือคุณก๋อยและคุณปลา ที่เริ่มต้นธุรกิจจากศูนย์ แม้จะไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตไอศกรีมมาก่อน แต่เพราะความชอบส่วนตัว ร้านไอศกรีมแห่งนี้จึงเกิดขึ้น จากร้านไอศกรีมเล็กๆ ร้านแรก ปัจจุบัน iberry ได้ขยายร้านไอศกรีมไปถึง 10 สาขา คือในกรุงเทพ 9 สาขา และต่างจังหวัดอีก 1 สาขา ทำให้ทางร้านจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจเพราะต้นทุนของไอศกรีมระดับคุณภาพแบบนี้ไม่ใช่ถูกๆ ถ้าไม่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการ อาจต้องสูญเสียจนเกินทุนก็ได้สำหรับการผลิตไอศกรีม คุณปลานำเครื่องผลิตไอศกรีมโดยเฉพาะมาจากต่างประเทศ ซึ่งเครื่องนี้จะระบุได้ว่าจะผลิตไอศกรีมแต่ละรสจำนวนกี่กิโลกรัม เครื่องตักดิจิตอลก็จะคำนวณว่าต้องตักวัตถุดิบแต่ละอย่างจำนวนเท่าไร และจะคำนวณเวลาและอุณหภูมิที่ต้องใช้ให้ด้วย ซึ่งระบบจะมีการควบคุมที่แม่นยำใช้เซนเซอร์ควบคุมความเย็นส่วนการควบคุมความเย็นของตู้ ไอศกรีมให้มีอุณหภูมิคงที่ ไม่ให้ปัญหาไฟดับหรือตู้ไม่ทำงานส่งผลให้ไอศกรีม เกิดความเสียหาย คืนรูป หรือเสียรสชาดไปนั้น คุณปลาได้แก้ปัญหาด้วยการติดตั้งตัวเซนเซอร์ที่ตู้ไอศกรีมแต่ละสาขา โดยการแนะนำของคุณกาญจน์ ทองใหญ่ Managing Director ของบริษัท ลอว์ เอ็นฟอร์ซเม้นท์ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยและระบบศูนย์ควบคุมและสั่งการ ซึ่งหากอุณหภูมิหรือกระแสไฟฟ้าในตู้ผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไป เช่น ตู้เย็นร้อนขึ้นผิดปกติ ตัวเซนเซอร์จะส่งสัญญาณไปที่กล่องควบคุมซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับระบบโทรศัพท์ เพื่อโทรศัพท์แจ้งไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุของบริษัท ลอว์ เอ็นฟอร์ซเม้นท์ เทคโนโลยี โซลูชั่นส์ จำกัด ที่ตึกล็อกซเลย์โดยอัตโนมัติ ซึ่งที่ศูนย์ฯ จะมีพนักงานคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบปัญหาและปฏิบัติการแก้ไขตามขั้นตอนที่ทาง iberry กำหนดไว้เมื่อเกิดเหตุผิดปกติในแต่ละสาขา เช่น บริการโทรตามพนักงานที่รับผิดชอบประจำสาขานั้นกลับมาดูแลและแก้ไข พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของร้านทราบ

ซอฟต์แวร์บริหารร้านเพื่อแผนการตลาดที่ดี ด้านการบริหารร้านสาขา คุณปลาได้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์สำหรับธุรกิจห้องอาหารของบริษัท กีออสโต้ จำกัด ชื่อ Kiosque ในทุกสาขา ซึ่งระบบจะส่งข้อมูลยอดขายในแต่ละวันของแต่ละสาขาออนไลน์ไปรวมกันที่สำนักงานใหญ่ทุกสิ้นวัน ทำให้คุณปลาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายและข้อมูลต่างๆ รู้ว่าในหนึ่งวันหรือหนึ่งปีมีอะไรถูกขายไปบ้าง แยกเป็นอะไรบ้าง ตัวไหนขายดี ช่วงไหน เสาร์ อาทิตย์ อะไรขายดี หรือหน้าหนาวขายดีหรือไม่ ทำให้คุณปลารู้ว่าจะวางแผนการตลาดอย่างไร “เมื่อก่อน ถ้าอยากทราบว่าไอศกรีมรสใดขายดี ต้องมานั่งไล่บิลแล้วบวกเอง ซึ่งใช้เวลานาน แต่เมื่อมีระบบ เราจะรู้ว่าเราขายได้เท่าไร ขายอะไรได้บ้าง จากจุดนี้เราสามารถรู้แนวทางสำหรับวางแผนการตลาดที่ดีได้”

ส่วนการควบคุมการขายไอศกรีมของพนักงานมิให้มีการทุจริต คุณปลาใช้วิธีชั่งน้ำหนักไอศกรีมที่เหลือแต่ละถังไว้ เพื่อหาปริมาณไอศกรีมที่ขายไปในแต่ละวัน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณที่ควรขายได้จากข้อมูลยอดขายที่ได้รับจากระบบ ซึ่งผลต่างบวก-ลบไม่ควรเกิน 5-10% ซึ่งเป็นการป้องกันการทุจริตของพนักงานได้วิธีหนึ่ง แต่คุณปลาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “บางทีการทำธุรกิจก็อย่าไปซีเรียสมากเกินไป อาจหลับหูหลับตาบ้าง เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้เป๊ะๆ”การตรวจสอบและควบคุมพนักงาน

เทคโนโลยีอีกอย่างที่iberry นำมาใช้บริหารจัดการพนักงาน แม้จะมีความเชื่อใจ และมีการควบคุมพนักงานด้วยการแบ่งสายบังคับบัญชาได้ในระดับหนึ่ง ก็คือ การติดตั้งระบบ CCTV เพื่อดูแลและติดตามพฤติกรรมของพนักงานภายในร้านทุกสาขาได้ตลอดเวลาไม่ว่าเจ้าของร้านจะอยู่ตรงส่วนไหน เพียงมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็พอ โดยคุณปลากล่าวว่า “ตอนนี้เราทดลองติดตั้ง CCTV ไปสาขาเดียว เพื่อดูว่าเด็กที่ร้านทำอะไรอยู่ หรือมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งปลาสามารถดูออนไลน์ที่บ้านได้” ตรงจุดนี้ช่วยแก้ปัญหาที่ iberry มีหลายสาขา ซึ่งเจ้าของร้านไม่สามารถเข้าไปดูแลทุกสาขาด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีอนาคตที่ไม่หยุดยั้งของ iberry สำหรับในอนาคตทาง iberry ก็ไม่หยุดระบบไอทีไว้เพียงแค่นี้ แต่มีแผนการนำไอทีมาใช้ในเรื่องของการจัดการแบ็กออฟฟิศให้ดีขึ้น สามารถติดตาม ตรวจสอบข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อการบริหารงานในลักษณะที่เจาะลึกขนาดที่ว่า ไอศกรีมถาดนี้ใช้วัตถุดิบอะไรบ้างในการผลิต แต่ละชนิดจะผลิตส่งมาเท่าไร เมื่อไร และสามารถกลับไปตรวจสอบได้ตั้งแต่เริ่มต้นเลย เช่น สมมติว่านมถังนี้ผลิตไอศกรีมเป็นถาด ส่งไปที่ไหนบ้าง เนื่องจากถ้ามีปัญหาเราสามารถดึงไอศกรีมเหล่านั้นกลับมาตรวจสอบได้ทันเวลา เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และเป็นการรับประกันคุณภาพของไอศกรีม iberry ด้วยนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ไอทีในธุรกิจในสไตล์ iberry ร้านไอศกรีมโฮมเมดแบบไทยๆที่น่าติดตาม



2. ผู้บริหารสามารถใช้ ICT ตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างไร อธิบาย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม



1.) ประโยชน์ที่ร้านไฮศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดบ้างด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน และ การบริการการส่งไอศครีม Iberry

1.1ด้านการสั่งซ้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน เนื่องจาก ร้านมีสาขา เยอะ แล้วในการจำหน่วยไอศครีม อาจจะมีบางช่วงที่ลูกค้าหนาแน่น จึ่งทำให้วัตถุดิบภายในร้านหมดลง ในการนี้ที่ร้าน ใช้ระบบ It จึงมีความจำเป็น ในด้านการสั่งซื้อของโดยตรงจาก สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดส่งวัตถุดิบเข้าร้านไอศครีม Iberry

1.2การบริการด้านการส่งไอศครีม Iberryทางร้านอาจจะใช้การสั่งซื้อ ผ่านระบบเครือข่าย Internet หรือ ระบบ Network แล้วในการส่งก็ต้องใช้ความชำนาญทางร้านไอศครีม ก็อาจจะ ใช้ ระบบ GPRS เข้ามาช่วยในระบบการส่งไอศครีม ให้กับผู้ที่สั่งซื้อ เป็นต้น

2.) ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม lberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้างร้านไอศครีม Iberry สามาถนำไอทีเข้ามาช่วยงานในด้าน การขาย และการจัดส่ง2.1 ในด้านการขาย ทางร้านอาจจะนำระบบ อินเทอร์เน็ต ในการทำเวปไซด์ ของกิจการร้านเพื่อทำให้ ผู้บริโภคได้รู้จัก ร้านไอศครีม Iberry มากยิ่งขึ้น

2.2 การจัดส่ง เนื่องด้วยเป็นร้านไอศครีมการจัดส่งในแต่ละครั้ง จึงควรต้องมีความรวดเร็วในการจัดส่งไอศรีม ทางร้านจึงอาจจะนำระบบ GPRS เข้ามาช่วยระบบตำแหน่งที่จัดส่งอย่างแม่นยำ และจะช่วยลดเวลาในการหา ตำแหน่งที่จัดส่ง อีกด้วย

3.) จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหาร้านไอครีม lberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบแนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ร้านขายไม้ดอกและไม้ประดับ

3.1 ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ และควบคุมระบบการปล่อยน้ำลดต้นไม้

3.2 นำเอาระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยระบบ Network Camera เข้ามาใช้ภายในร้าน ทำให้สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา และทราบถึง สภาพของต้นไม้ ที่เราเลี้ยงไว้ขายอีกด้วย

3.3 ใช้ระบบ Internet เข้ามามีบทบาทในการโปรโมทร้าน เพื่อทำให้บุคคล หรือผู้ที่สนใจ ได้รู้จัก ร้านขายไม้ดอกไม้ประดับ ดีมากยิ่งขึ้น และเขียน Forum เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ ในพันธ์ ไม้ ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน

3.4 ใช้ระบบ เครื่องข่าย Network หรือ Internet ในการสั่งซื้อหรือจัดจำหน่าย และใช้ระบบ GPRS



1 .บริษัทการบินไทยนำ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจการบินอย่างไรบ้าง? (10 แนน)



การบินไทย เปิดตัวโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary ให้บริการข้อมูลการบิน แก่ลูกค้า และผู้โดยสาร ผ่านระบบมือถือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 ฉลองการบินไทย ครบรอบ 50 ปี พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจสายการบินรูปแบบใหม่ เพื่อให้บริการข้อมูล ด้านตารางบิน เที่ยวบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมไมล์สะสม และข้อมูลด้านคลังสินค้าและไปรษณียภัณฑ์การบินไทย ให้แก่ลูกค้าและผู้โดยสารโดยตรง ผ่านทาง SMS บนโทรศัพท์มือถือ ในรูปแบบ Mobile Service ของการบินไทย ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 สถาบัน คือการบินไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ ATCI เพื่อสนับสนุนและยกมาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ของประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม Airline Industry นาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 นี้ เป็นโครงการพัฒนาและประยุกต์ระบบสารสนเทศอันทันสมัยมาสนับสนุนหรือต่อยอดใน งานบริการข้อมูลทางด้านธุรกิจการบินของการบินไทย ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้โดยสารและลูกค้าที่ต้องการทราบข้อมูลการบินของการบินไทย อาทิ ข้อมูลด้านตารางบิน เที่ยวบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมสะสมไมล์ ตารางการขนส่งสินค้า หรือ Cargo Flight Schedule และเกมส์ ผ่านทางระบบโทรศัพท์มือถือ(Smart Phone) ในรูปแบบของ Mobile Services ซึ่งง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งระบบนี้ได้ริเริ่มจากพนักงานการบินไทย จากหลายหน่วยงานได้ร่วมกันคิดค้น และพัฒนาระบบดังกล่าวด้วยตนเอง และผลงานที่ได้จากโครงการฯ นี้ จึงทำให้ การบินไทย จัดเป็นสายการบินแรกของโลกที่ได้พัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับ ตารางการขนส่งสินค้า หรือ Cargo Flight Schedule และเกมส์ ผ่านทางระบบมือถือ

สำหรับ ระบบ Mobile Services ของโครงการ IT Sparkling for 50 th THAI Anniversary 1960 - 2010 นี้ ประกอบด้วย

1.บริการข้อมูลการบินตอบกลับอัตโนมัติ (SMS Query) ผ่านเมนูบน DSTK Sim ผู้โดยสารและลูกค้าจะได้รับข้อมูลเที่ยวบิน ตารางการบิน โปรโมชั่นบัตรโดยสาร โปรแกรมสะสมไมล์ และข้อมูลด้านคลังสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ของการบินไทย ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

2.บริการข้อมูลการบินตอบกลับอัตโนมัติ ผ่านการสั่งการด้วยเสียง (Speech Recognition)ผู้โดยสาร และลูกค้า สามารถทราบข้อมูลเที่ยวบิน ตารางบิน ข้อมูลการส่งสินค้า ตรวจสอบคะแนนไมล์สะสม และตรวจสอบการสำรองที่นั่ง เป็น Return SMS ผ่านการสั่งการด้วยเสียงพูดของตน

3.Mobile Game : LITTLE CAPTAIN เป็น Mobile Game น่ารักที่การบินไทยมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่จะมอบให้เป็นของขวัญให้กับผู้โดยสารและลูกค้าของการบินไทยและทุกคนทั่ว โลก ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่าง การบินไทย และบริษัทผู้ผลิตเกมส์คนไทย โดย การบินไทย จะเป็นสายการบินแรกของโลกที่พัฒนา Mobile Game ให้ผู้โดยสารและลูกค้าได้เล่นผ่าน iPhone, iPod Touch และ iPAD โดยผู้เล่นจะทำหน้าที่เป็นกัปตันบังคับ เครื่องบินไปลงจอดยังจุดบินต่างๆ ที่การบินไทยให้บริการ ได้อย่างสนุกสนาน และตื่นตาตื่นใจกับฉากสุด น่ารักของเกมส์นี้ ขณะเดียวกัน LITTLE CAPTAIN ยังได้มี Application ของ Flight Monitor ที่จะช่วยเตือนให้ผู้เล่นได้รับทราบถึงสถานะปัจจุบันของเที่ยวบินที่ต้องการ ได้ตลอดเวลา (Flight Monitor) พร้อมทั้ง สามารถเลือกดูข้อมูลโปรโมชั่นของการบินไทยหรือจะเชื่อมต่อไปยังเว็ปไซต์ http://m.thaiairways.com ได้อีกด้วย

4.บริการ Widgets/Gadgets และ Web Script โดย แสดงข้อมูลการบินและการบริการของการบินไทย เพื่อให้ผู้พัฒนาเว็ปไซต์ (Web Site Developer) ผู้พัฒนาบล็อก (Blog Developer/Bloger)ผู้สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SocialNetwork Builder) และอื่นๆ สามารถนำข้อมูลของการบินไทยไปเผยแพร่แก่สมาชิกได้สำหรับ ความร่วมมือระหว่าง การบินไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) หรือ SIPA และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ ATCI ในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาส และสนับสนุนให้นักพัฒนาและผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย ได้พัฒนาและยกระดับมาตรฐานของตนเองให้ก้าวไปสู่ในธุรกิจการบินหรือ Airline Industry ต่อไป โดยการบินไทยจะเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องข้อมูลด้านการบินให้กับนักพัฒนาและ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย และพร้อมที่จะเป็นประตูนำผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศของคน ไทยไปสู่สายตาชาวโลกต่อไปในอนาคต สำหรับ SIPA และ ATCI จะให้ความร่วมมือในการคัดเลือก และจัดหานักพัฒนาและผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของคนไทยที่มีคุณภาพมาร่วมผลิต ซอฟต์แวร์ให้กับการบินไทยดร.จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA กล่าวว่า SIPA เป็นองค์กรภาครัฐที่มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และบริการด้านซอฟต์แวร์ให้ได้มาตรฐานสากล ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นมิติใหม่ที่องค์กรภาครัฐและเอกชนจะช่วยกัน พัฒนาอุสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้า โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่มีความสามารถและได้แสดง ศักยภาพให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับนานาชาติมาหลายต่อหลายครั้ง ซึ่ง SIPA ยังได้มีโครงการในการสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Thailand ICT Awards หรือ TICTA ที่ได้ร่วมมือกับสมาคม ATCI จัดการประกวดและสนับสนุนตัวแทนจากประเทศไทยส่งผลงานเข้าประกวดในงาน Asia Pacific ICT Alliance Awards หรือ APICTA จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศกลับมา ความร่วมมือในโครงการ IT Sparkling ครั้งนี้ SIPA ถือเป็นเกียรติที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของคน ไทยให้ได้มีโอกาสในการแสดงผลงานออกสู่สายตาชาวโลก SIPA ต้องขอขอบคุณการบินไทย ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ไทยได้นำข้อมูลอันมีค่ามาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งขอขอบคุณสมาคม ATCI นความร่วมมือที่ดีต่อกันเสมอมา SIPA มั่นใจว่าความร่วมมือครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลงานซอฟต์แวร์ที่มีความโดดเด่น ตอบโจทย์ทางธุรกิจการบินและประกาศศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยให้ชาวโลกได้ ชื่มชมผ่านการบินไทย สายการบินที่นานาชาติ



2. จงอธิบายคำต่อไปนี้ Diaster Recovery, Transaction Processing, Virtual Tape Server, Data Recovery, Royal e-Ticketing

1)ฝันร้ายของธุรกิจเกิดขึ้นได้หากมีความล้มเหลวของระบบ หนทางที่จะทำให้ระบบกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด คือการนำข้อมูลกลับมาจากระบบสำรองข้อมูล เหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 และวินาศภัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา คงทำให้ทุกคนทราบดีว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอย่างไร เป็นผลให้บริษัทน้อยใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย มีการตื่นตัวในเรื่อง Disaster Recovery การป้องกันภัยและกู้คืนระบบ เพราะมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่ต้องล่มสลายไปพร้อมๆ กับเหตุการณ์เหล่านั้น เบื้องหลังของบริษัทเหล่านั้นที่ไม่สามารถหวนคืนกลับสู่เส้นทางธุรกิจได้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ไม่มีระบบป้องกันและสำรองข้อมูลที่ดีพอ ทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญต่อธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ต้องสูญสลายไปกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การบินไทย 1 ชั่วโมง 10 ล้าน เสียไม่ได้ ตลอดเวลากว่า 42 ปีที่ผ่านมา การบินไทย ในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ ได้เติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จนี้ คือระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการนำไอที มาใช้ร่วมในการพัฒนาระบบงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจองตั๋วเครื่องบิน การเช็คอิน และงานบริการต่างๆ แน่นอนในระบบงานที่ใหญ่โต และเป็นส่วนสำคัญที่สุดขององค์กรจำเป็นจะต้องมีแผนการ หรือมาตรการที่จะมารองรับกับสถานะการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบให้เกิดความเสียหาย โอกาสนี้ คุณบุหงา กรวินัย ผู้อำนวยการฝ่ายงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเปิดเผยถึงหลักการและมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นและระบบแบ็กอัพให้กับ eLeader

เริ่มต้นที่ภาพรวมของการบินไทย คุณบุหงาได้สรุปภาพรวมของการบินไทยว่าเป็นสายการบินแห่งชาติที่มีภาระกิจหลักในการให้บริการการขนส่งทางอากาศของประเทศ ปัจจุบันมีเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ ทั้งสิ้น 77 เมืองใน 34 ประเทศทั่วโลก มีรายได้ปีละ 130,000 ล้านบาท ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้หลักมาจากการขนส่งผู้โดยสาร อาจจะกล่าวได้ว่าเบื้องหลังของความสำเร็จนี้มาจากความทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจของพนักงานการบินไทยทุกฝ่ายตลอดเวลา 24ชั่วโมง7วันคือให้บริการแบบไม่มีวันหยุด

การบินไทยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการเชื่อมโยงระบบทั้งหมดของทั้งบริษัทเข้าด้วยกันเปรียบเสมือนกับเป็นกระดูกสันหลังที่คอยควบคุมในการจัดการธุกิจให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบงานไอทีของการบินไทยนั้นมีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่น่าเชื่อถือของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นระบบงานอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ในโลกยุคดิจิตอลนี้การบินไทยก็ได้มีการนำระบบอีคอมเมิรซ์มาใช้ในการบริการผู้โดยสารภายใต้ชื่อ Royal e-Service ประกอบด้วย Royal e-Booking เป็นระบบงานสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ของการบินไทย ด้วยเหตุนี้ผู้โดยสารสามารถเลือกดูเที่ยวบิน วันเวลา ราคาบัตรโดยสาร สำรองที่นั่ง หรือยกเลิกการสำรองที่นั่ง ได้อย่างสะดวกง่ายดายตลอด 24 ชั่วโมง อีกระบบคือ Royal e-Ticketing ระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการยกหูโทรศัพท์เพื่อสำรองที่นั่งผ่านสำนักงานของการบินไทย หรือผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเพื่อไปจองตั๋วโดยสาร 2 ) ศูนย์คอมพิวเตอร์ 2 ศูนย์กับอุปกรณ์ 2 ชุด ระบบงานหลักของการบินไทย เกือบจะทั้งหมดทำงานอยู่บนเมนเฟรม เนื่องจากลักษณะของงาน นั้นมีความจุสูง อีกทั้งยังต้องการความเร็วสูงสำหรับการประมวลผลอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการจัดเตรียม Backup & Recovery plan ไว้ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในส่วนของฮาร์ดแวร์จะต้องมีขีดความสามารถที่จะรองรับงานทุกระบบ งานต่างๆ ของการบินไทยมีอยู่หลายส่วนด้วยกันในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้ระบบงานหยุดชะงัก จำเป็นที่จะต้องจัดการระบบงานที่มีความสำคัญมากให้สามารถทำงานได้ก่อนระบบอื่นๆ ซึ่งลำดับในการจัดการได้มีการกำหนดเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะนำระบบให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

การบินไทยมีศูนย์ประมวลผลหลักอยู่ 2 ศูนย์ โดยอุปกรณ์ที่ศูนย์ทั้งสองจะมีความสามารถที่ใกล้เคียงกัน คุณบุหงา ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์คอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งแห่งมาจาก การที่การบินไทยนั้นให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์ หากศูนย์หนึ่งเกิดปัญหาขึ้นอีกศูนย์หนึ่งก็สามารถทำหน้าที่แทนได้ทันที แต่อาจจะทำงานได้ในระดับที่ไม่เต็มร้อย แต่ยังสามารถที่จะให้บริการต่อไปได้ และในช่วงนี้ก็จะมีการแก้ไขในจุดที่มีปัญหาในศูนย์ที่ล่มเมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะกลับไปใช้งานที่ศูนย์เก่าดังเดิมคุณบุหงาได้ให้ข้อมูลว่า แม้ว่าการบินไทยจะมีศูนย์คอมพิวเตอร์อยู่ 2 ศูนย์แต่ศูนย์ที่สองนี้ ก็มิได้เรียกว่าเป็นศูนย์สำรองเนื่องจากมีการใช้งานตลอดเวลาทั้งสองศูนย์ โดยในแต่ละศูนย์จะมีการใช้ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันศูนย์หนึ่งใช้ MVS (Multiple Virtual Storage) หรือ OS/390 สำหรับระบบงานสนับสนุน ส่วนอีกศูนย์จะใช้ TPF (Transaction Processing Facility) สำหรับระบบงานหลักของการบินไทยจะเปิดใช้งานพร้อมกันทั้งสองศูนย์ แต่สาเหตุที่ใช้คนละระบบนั้นเกิดจากการที่ค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันสูงกว่าฮาร์ดแวร์

โครงสร้างของการทำงานนั้น ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์แต่ละศูนย์จะมีคอมพิวเตอร์อยู่ทั้งหมดสองชุดเพื่อใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเครื่องแรกใช้ในระบบงานคอมเมอร์เชียล (commercial Systems) เพื่อสนับสนุนการขาย การบริการ ออกบัตรโดยสาร ตลอดจนการตรวจรับผู้โดยสารขาออก เป็นต้น โดยเครื่องที่สอง ใช้สำหรับระบบงานสารสนเทศที่สนับสนุนระบบปฏิบัติการ ตลอดจนการวางแผนและการตัดสินใจ เช่น ระบบครัวการบิน ระบบซ่อมบำรุงเครื่องบิน ระบบบริหารพัสดุ ระบบจัดตารางบินและระบบอื่นๆ ดังนั้นทั้งสองศูนย์จึงมีเมนเฟรมอยู่ 4 เครื่อง คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้ง 4 เครื่อง จะเปิดไว้ตลอดเวลาคือลักษณะเป็น Warm Site ถ้าศูนย์ใดศูนย์หนึ่งมีปัญหาเราจะย้ายระบบมาอีกศูนย์หนึ่งทันที โดยจะต้องมีการกู้ข้อมูลให้ระบบถอยกลับไปก่อนที่จะถึงจุดที่มีปัญหา ข้อมูลจะมีการบันทึกเหมือนกันทั้งสองศูนย์ ระบบ TPF จะเขียนข้อมูลทั้งสองข้างเหมือนกัน แต่ OS/390 จะเขียนฝั่งหนึ่งให้เสร็จก่อน แล้วจึงเขียนอีกฝั่งหนึ่ง และยังมีการใช้ระบบ Virtual Tape Server (VTS) ให้เกิดประโยชน์ในการลงทุนอย่างคุ้มค่า การสตาร์ตระบบคอมเมอร์เชียลอย่าง TPF ถ้าทุกอย่างพร้อมสามารถเปิดระบบภายในเวลา 5 นาที ผู้ใช้งานจึงเริ่มใช้งานได้ ส่วนระบบ OS/390 จะพร้อมใช้งานภายในเวลา 30 นาที หากเลยเวลาที่กำหนดไปแล้วนั้น จะต้องนำเอาแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) หรือ Business Continuity Plan มาใช้เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนในเรื่องการแบ็กอัพข้อมูล คุณบุหงาอธิบายถึงวิธีการสำรองข้อมูลของการบินไทยว่า "เราคำนึงถึงการสำรองข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และมีการสำรองข้อมูลเก็บในเทปเสมอ "นอกจากนี้เรายังได้คุยกับคุณประเวช แคลลา ผู้จัดการกองปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์และสื่อสารของการบินไทย ซึ่งให้ข้อมูลเสริมว่า "สมัยก่อนข้อมูลยังมีไม่มากเราสามารถสำรองข้อมูลทั้งหมด แต่ปัจจุบันจำนวนข้อมูลได้เพิ่มมากขึ้นเราไม่สามารถ ที่จะจัดเก็บทั้งหมดจึงต้องมีวิธีการจัดการ โดยสำรองข้อมูลเฉพาะ ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนเป็นต้น" บทสรุปความสำเร็จการบินไทย คุณบุหงากล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับการทดสอบความพร้อมอยู่เสมอเพื่อที่จะรองรับสถานะการณ์ในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดปัญหาขึ้น ระบบสำรองจำเป็นที่จะต้องทำงานได้จริง เพื่อให้งานต่างๆ สามารถทำต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา ดังนั้นเราจึงมีการทดสอบสลับการปฏิบัติการระหว่างศูนย์ทั้งสองทุก 3 เดือนไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ส่วนการทำ Data Recovery นั้นจะทำทุกสองเดือน ในการทดสอบจะมีการสมมติสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ให้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด จะมีสคริปต์ในการทดสอบ โดยในการทดสอบจะต้องกระทบกับระบบงานหลักให้น้อยที่สุด

จากข้างต้นคงจะเห็นแล้วว่าเบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดของการบินไทย มาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนการในการเตรียมพร้อมการรับมือสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ ความสำเร็จตลอดระยะเวลา 42 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นบททดสอบความมีประสิทธิภาพของการบินไทยอย่างดีเยี่ยม นอกเหนือจากนั้นก็มาจากระบบการสำรองข้อมูล และแผนการกู้คืนอย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ถือได้ว่าเป็นบทพิสูจน์ว่า การสำรองข้อมูล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด



1.ให้อธิบาย blog,twitter,facebook เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร



ตอบ ข้อเหมือนกัน คือ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ข้อแตกต่าง คือ " บล็อก"(Blog) บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถสร้างและจัดหน้าตาที่แสดงของเรื่องที่เขียนได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก

"ทวิตเตอร์ "( Twitter) ทวิตเตอร์ ก็คล้ายๆ กับบล็อก เพียงแต่ใส่ ข้อมูล ได้สั้นกว่า ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ twit-ter.com ก็ใช้งานได้ติดตาม ข้อความในทวิตเตอร์ได้ จากโทรศัพท์มือถือ ผู้ส่งข้อความ อาจส่งข้อความได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร แต่ข้อดีคือติดตามอ่านได้ทุกเวลา สั้น ง่าย และรวดเร็ว ทวิตเตอร์ ถูกใช้ในการนัดชุมนุม เผยแพร่ข้อมูล ส่งที่อยู่เว็บฯที่มีการโพสต์ภาพ หรือวีดิโอคลิป เป็นหลักฐานแสดงถึงการใช้ความรุนแรงในการเข้าปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐ

"เฟซบุ๊ก" (Facebook) เป็นเว็บไซท์ข้อมูลของคุณเอง และนำไปเชื่อมโยงกับ หน้าโปรไฟล์ face book ของคนอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ สามารถส่งข้อความพูดคุยกับเพื่อนตัวต่อตัว หรือจะส่งข้อความหาเพื่อนกลุ่มใหญ่ในครั้งเดียวก็ทำได้ Face book จะเน้นในเรื่องของแอพพลิเคชั่น และการใช้งานที่ดูเป็นทางการ Face book คือ ผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริง และ E-mail เดียวกันในการลงทะเบียน Skin ของ Face book นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่มีข้อดีคือ มีโทนสีที่สว่าง ทำให้ผู้ใช้ทุกช่วงอายุ สามารถอ่านได้อย่างสบายตา จะเป็นสื่อในการส่งข้อความแล้ว เรายังสามารถใช้เว็บสังคมออนไลน์เป็นที่ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับองค์กรที่เราทำงาน เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เราใช้ หรือเกี่ยวกับการเมือง เป็นเว็บที่นิยมกันทั่วโลกทำให้เราสามารถมีการแลกเปลี่ยนสื่อสารภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นเว็บที่เป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับองค์กรของตนเองไปยังบุคคลต่างๆ รอบๆ ตัวเรา โดยสิบเอกณัฐพงศ์ ชนะพงศ์ฐิติวัสส์

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนบรรณานุกรม
ในการเขียนบรรณานุกรมจำเป็นจะต้องมีการอ้างอิง บอกแหล่งที่มาของ ข้อมูลซึ่งจะปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบท
การอ้างอิงบรรณานุกรม หมายถึง การอ้างอิงแหล่งสารนิเทศซึ่งเป็นทฤษฎี ข้อมูล ความรู้ มาประกอบในผลงานทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพื่อบอกแหล่งที่มาของสารนิเทศอันเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานเหล่านั้น
การอ้างอิงที่ผู้จัดทำนำเสนอนี้เป็นระบบ APA (American Psychological Association) เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมในผลงานทางวิชาการของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิธีการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรมจากสารนิเทศประเภทต่างๆ มีดังนี้
1. หนังสือ
1.1 ผู้แต่งคนเดียว
ชื่อ / ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / /ชื่อหนังสือ. / / ครั้งที่พิมพ์. / /เมืองที่พิมพ์/: /
/ / / / / / / สำนักพิมพ์.


ตัวอย่าง
เริงชัย หมื่นชนะ. (2538). จิตวิทยาธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
O’Brien, J. A. (1999). Management information : Managing Information technology in the
internet worked enterprise. 4 th ed. Boston : McGraw-Hill.
1.1.1 ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ใส่ชื่อสกุลตามด้วยอักษรย่อทั้งชื่อต้น และชื่อกลาง(ถ้ามี) โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) (,) แบ่งชื่อสกุล และชื่อต้น
ตัวอย่าง O’Brien, J. A.
Mullen, N. D.
1.1.2 ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อตามด้วยนามสกุลในกรณีที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เครื่องหมายจุลภาค (,) หลังนามสกุลและตามด้วยฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว.
อนุมานราชธน, พระยา
สุภัทรดิส ดิสกุล, ม.จ.




หมายเหตุ ไม่ต้องใส่คำต่อไปนี้
1. คำนำหน้าชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว Mr. Mrs.
2. ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ศ. รศ. Dr. Prof.
3. คำระบุอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์
1.1.3 สมณศักดิ์ ให้คงไว้ปกติไม่ต้องย้ายไว้ด้านหลัง เช่น พระเทพคุณาธาร พระเทพวาที พระพิศาลธรรมเวที
ยกเว้น ผู้แต่งที่เป็นพระสังฆราชและเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน แล้วกลับคำนำหน้าที่แสดงลำดับชั้นเชื้อพระวงศ์ไปไว้ข้างหลัง โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)
ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมสมเด็จพระ

1.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ให้ลงชื่อบรรณาธิการแทนผู้แต่ง และใส่คำ “บรรณาธิการ” หรือ “ผู้รวบรวม” หรือ Ed. หรือ Eds. หรือ Comps. โดยใส่ไว้หลังเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ต่อจากชื่อบรรณาธิการ

ตัวอย่าง

เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, บรรณาธิการ. (2543). ท้องถิ่น-อินเดีย. ชลบุรี : ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Diener, H. C., &Wilkinson, M., Eds.. (1988). Drug-induced headache. New York : Springerverlag.
1.3 ผู้แต่ง 2-3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำว่า “ , และ” หรือ “, &” เชื่อมดังนี้ ถ้า 2 คนเชื่อมระหว่างชื่อ ผู้แต่งคนที่ 1 และคนที่ 2 ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ ต้องกลับเอาชื่อสกุลขึ้นต้นเหมือนกัน ทั้ง 2 คน กรณี 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ระบุ ผู้แต่งให้ครบทุกคน ชื่อแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่อง
หมายจุลภาค “ , ”เช่น คนที่ 1,คนที่ 2 และคนที่ 3

ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ และสุมาลย์ บ้านกล้วย. (2525). ตัวละครในรามเกียรติ์ : ลักษณะความเป็นมา
และพฤติกรรมของตัวละครในรามเกียรติ์เปรียบเทียบกับตัวละครในมหากาพย์รามายณะ.
กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
Galton, M. & Williamson, J. (1992). Group Work in the primary Classroom. London :
Routledge.
ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 คน
วัลลภ สวัสดิวัลลภล, สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง, และชัยเลิศ
บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า = Information for study skills and
research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

1.4 ผู้แต่งมากกว่า 6 คน
ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคนอื่นๆ” สำหรับชาวไทย “and others” สำหรับชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง

จรวย บุญยุบล และคนอื่นๆ. (2536). พลังงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cramer, R.L. and others. (1984). Language : Structure and use. 2 nd ed. Illinois : Scott.

หมายเหตุ
กรณีที่หน้าปกมีชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วย “และคนอื่นๆ”หรือ “และคณะ”ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรกตามที่ปรากฏที่หน้าปกของหนังสือได้เลย เช่น
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่นๆ. (2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา =
Management Information Systems (MIS) and cases. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

1.5 สิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
ตัวอย่าง

กฎหมายตราสามดวง. (2520). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

1.6 หนังสือแปล ให้ลงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อเรื่องที่แปลแล้วตามด้วยคำว่าแปลจากเรื่องในภาษาเดิม(ภาษาต้นฉบับ (ถ้ามี)) ตามด้วย โดย ชื่อผู้แปล หากไม่มีชื่อผู้แต่งเดิมใส่ชื่อผู้แปลโดยระบุว่าเป็นผู้แปล
ชื่อ / ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อหนังสือ / แปลจากเรื่อง.. โดย.. / /
/ / / / / / / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.




ตัวอย่าง
เวลส์, ควอริช. (2519). การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ แปลและเรียบเรียงโดย
กาญจนี สมเกียรติกุล และยุพา ชุมจันทร์. กรุงเทพฯ :โครงการตำราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
ซาเว็ตซ์, เควิน เอ็น. (2539). ไขปัญหาอินเทอร์เน็ต แปลจากเรื่อง Your Internet consultant โดย
กิตติ บุณยกิจโณทัย, มีชัย เจริญด้วยศีล และอมรเทพ เลิศทัศนวงศ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เอกสารภาษาอังกฤษ ที่แปลจากภาษาอื่นให้ใช้ข้อความ“Translated by” แทนคำว่า “แปลจาก”
Hankel, Wilhelm. (1991). Prosperity amidst crisis : Austria’ s economic Policy and the energy
crunch translated by Jean Steinberg. Boulder, Colo : Westview Press.
ปราศรัย รัชไชยบุญ, ผู้แปล. (2529). ครั้งหนึ่ง…ยังจำได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนบรรณ.

1.7 หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ ได้แก่ หนังสืองานศพ หนังสือที่ระลึกในโอกาสพิเศษต่างๆ
ชื่อผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อหนังสือ. / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.
/ / / / / / / (รายละเอียดการจัดพิมพ์).




ตัวอย่าง

พุทธทาสภิกขุ. (2538). เกิดมาทำไม. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา. (ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่ท่านเจ้าคุณ
พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญา นันนทภิกขุ) เจริญชนมายุ ปีที่ 84 วันที่ 11
พฤษภาคม 2538).

1.8. บทความในหนังสือ หรืออ้างอิงบางตอน
สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ รวมเรื่องต่างๆ ในเล่มเดียวกัน
ได้แก่ สารานุกรม หนังสือรวมบทความวิชาการ รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ เอกสารการประชุม/สัมมนา
ผู้เขียนบทความ. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ
/ / / / / / / / (บรรณาธิการ ถ้ามี), / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / /
/ / / / / / / / สถานที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.



ตัวอย่าง

สุมิตร คุณานุกร. (2520). การวางแผนการสอน ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ), คู่มืออาจารย์
ด้านการเรียนการสอน. (หน้า 58-69). กรุงเทพฯ : หน่วยพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายวิชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brow, R., & Dyer, A. F. (1972). Cell division in higher plants. In F.C. Steward (Eds.), Plant
physiology : An advance treatise. (pp. 49-90). New York : Academic press.

สารานุกรม
ผู้เขียนบทความ. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน (In) ชื่อสารานุกรม.
/ / / / / / / / (เล่มที่, / หน้า/ เลขหน้า). / / เมืองที่พิมพ์ / : / สำนักพิมพ์.




ตัวอย่าง

สวัสดิ์ ปัจฉิมกุล. (2527). แผนที่. ใน สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (เล่มที่ 19, หน้า
1237-2380). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
กรณีที่เอกสารใช้หน่วยงานเป็นชื่อผู้แต่ง หนังสือที่ออกในนามองค์กร สมาคม บริษัทหรือหน่วยงานทางราชการ
1. ผลงานที่เป็นของหน่วยราชการระดับกระทรวง มิได้บอกชื่อกรม ให้ลงชื่อกระทรวงเป็นชื่อผู้แต่ง เช่น
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงพาณิชย์
2. ผลงานที่เป็นเฉพาะกรมใด กรมหนึ่ง แม้มีชื่อกระทรวงอยู่ ก็ให้ลงชื่อกรมเป็นชื่อผู้แต่ง หากมีชื่อหน่วยงานระดับย่อยกว่ากรม ให้ลงไว้ในส่วนของสำนักพิมพ์ ยกเว้นสิ่งพิมพ์ของคณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆให้ลงชื่อคณะวิชานั้นต่อจากชื่อมหาวิทยาลัยโดยมีมหัพภาคคั่น (.) เช่น
กรมศิลปากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

3. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำนักงาน และเอกชน ใช้ชื่อหน่วยนั้นๆ เป็นชื่อผู้แต่ง เช่น
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงไทย จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

2 วารสาร
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร, / ปีที่หรือ
/ / / / / / / เล่มที่ (ฉบับที่), / หน้า /เลขหน้า.



(ถ้าไม่มีชื่อผู้เขียนใช้ชื่อบทความลงเป็นรายการแรก)
ตัวอย่าง
เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท. (2542, มิถุนายน – ธันวาคม). แนวคิดสันติวิธีจากกฎหมายตราสามดวง.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(8), หน้า 52-61.

คอลัมน์จากวารสาร
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์ : ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / /
/ / / / / / / / ชื่อวารสาร, / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่), / หน้า / เลขหน้า.


ตัวอย่าง
สุนันท์ ศรีจันทรา. (2545, 6-12 พฤษภาคม). เกาะกระแสธุรกิจ : นักลงทุนไทยไปนอก.
เนชั่นสุดสัปดาห์, 10 (518) :หน้า 21.

3. หนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อหนังสือพิมพ์, / หน้า/ เลขหน้า.


ตัวอย่าง
ขติยา มหาสินธ์. (2545, 19 พฤษภาคม). เปิดศูนย์เทียบประสบการณ์สร้างชีวิตใหม่ให้แรงงานไทย.
มติชน, หน้า 4.

4. จดหมายเหตุ คำสั่ง ประกาศ
ชื่อหน่วยงาน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อของเอกสาร. / / เลขที่ของเอกสาร(ถ้ามี).



ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (จ.ศ. 1206). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3. เลขที่ 12.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2533, 13 กุมภาพันธ์). เรื่อง กำหนดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนประจำปีการ
ศึกษา 2534. ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา.

5. สูจิบัตร แผ่นพับ โฆษณา แผ่นปลิว และเอกสารการสอนที่ไม่เป็นเล่ม
ชื่อผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / (ลักษณะของเอกสาร). / /
/ / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.


ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม. (2545). ความรู้เรื่องประเพณีวันสงกรานต์.
(สูจิบัตร). ชลบุรี : สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. ต้นฉบับเขียน
ชื่อหน่วยงานเจ้าของต้นฉบับตัวเขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / /
/ / / / / / / ชื่อเอกสาร. / / (ลักษณะเอกสาร). / / เลขทะเบียน.


ตัวอย่าง
หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). บาลีพระขุททกสิกขา. (หนังสือใบลาน).
เลขที่ 3980/ก/1.
กรณีที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ภาษาไทยใช้ (ม.ป.ป.) หรือภาษาอังกฤษใช้ (n.d.)
7 ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อกฎหมาย. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ราชกิจจานุเบกษา. / / เล่ม /
/ / / / / / / ตอนที่. / / หน้า / เลขหน้า.



พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พุทธศักราช 2533. (2533, 29 กรกฎาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 131. หน้า 1-20.
8. การสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. / / (ปี, / วันที่ / เดือน). / / ตำแหน่ง (ถ้ามี). / / สัมภาษณ์.


ตัวอย่าง
ทักษิน ชินวัตร, พ.ต.ท. (2545, 29 พฤษภาคม). นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์.

9. สื่อโสตทัศนวัสดุ
ชื่อผู้จัดทำ, / หน้าที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของ
/ / / / / / / โสตทัศนวัสดุ]. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.



ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ผู้ผลิต. (2525). กฎหมายธุรกิจ. [แถบเสียง].
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

10. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
10.1 ซีดี-รอม
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต, / วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ].
/ / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารนิเทศ.



ตัวอย่าง

Youngwood, S. (1992, February). Book publishers proliferate in vermont. Vermont business
magazine. [CD-ROM]. Sec 1, 25 : Available : UMI, File Business Dateline Ondisc, Item :
92-18178.

สาระสังเขป
Green, M., &Rogers, P. J. (1995). Impaired cognitive functioning During spontaneous
dieting. Psychological medicine. [CD-ROM]. 25(5), 1003-1010. Abstract
from : Science Citation index with abstract, disc 2 of 2, January 1995-October
1995.
อมรา พงศาพิชญ์. (2540). การมองตนเองและโลกทัศน์ของเด็กพิการตาบอด : ศึกษากรณีเด็กใน
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร. [ซีดี-รอม]. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต,
สาขามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาระสังเขปจาก :
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 1, 2540.

ในการระบุแหล่งที่ใช้ค้นสารนิเทศให้ใช้คำว่า “เข้าถึงได้จาก :” สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย ส่วนวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “Available :” ในกรณีที่สารนิเทศที่ค้นได้เป็นเพียงบทคัดย่อหรือสาระสังเขป (Abstract) ไม่ใช่ฉบับเต็มให้ใช้คำว่า “บทคัดย่อจาก :” หรือ “Abstract from :” แทนคำว่า “เข้าถึงได้จาก :” และ “Available :” ตามลำดับ

10.2 ข้อมูลออนไลน์ หรือสารนิเทศบนอินเตอร์เน็ต
ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต, / วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ].
/ / / / / / / / /รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารนิเทศ.
/ / / / / / / / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).





ตัวอย่าง
Webb, S.L. (1992, January). Dealing with sexual harassment. Small Business Report. [Online].
17, 11-14. Available : BRS, File : ABI/INFORM, Item : 00591201.
(Access date : March 1, 1992).
Garcia, G.E. (19991). Factors influencing the English reading test Performana of
spanidh-speaking hispanic children. Reading Research quarterly. [Online].
26(4)} 371-92. Abstract from : DIALOG(R), File 1 : ERIC, Item : EJ435542.
(Access date : July 1, 1992).

กระแสการปฏิรูปการศึกษา. (2545). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:///www.
moe.go.th/main2/article/article-somsak/article-somsak11.htm/.
(วันที่ค้นข้อมูล : 31 พฤษภาคม 2545).
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2544). ความสงสัยในการเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.moe.go.th/main2/
article-somsak/article-somsak09.htm/. (วันที่ค้นข้อมูล : 31
พฤษภาคม 2545).
England, G.A. (1999). The outer world. In Robert R(Ed.). Darkness and dawn. [Online].
Available : http://www.litrix.com/darkdawn/ darkdool.htm. (Access date : May 3, 1999).
Projcet Gutenberg. (1999). [Online]. Available : ftp://mrcnext.CSO.uiuc.
edu/etext. (Access date : March 9, 1999).

หมายเหตุ
1. ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และรายละเอียดทางการพิมพ์ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการเขียนบรรณานุกรมตามวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆ
2. ประเภทของสื่อให้ระบุว่าเป็น [ออนไลน์] หรือ [ซีดี-รอม] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาไทย และ [Online] [CD-ROM] สำหรับวัสดุสารนิเทศภาษาต่างประเทศ

การลงรายการเกี่ยวข้องกับการพิมพ์

1. ครั้งที่พิมพ์ ให้ระบุตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศใช้คำว่า “ed.”
ภาษาไทย ลงว่า พิมพ์ครั้งที่ 2
ภาษาต่างประเทศ ลงว่า 2 nd ed.
2. เมืองที่พิมพ์ให้ระบุชื่อเมืองที่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ลงว่า ม.ป.ท. หรือ n.p. (no place of publication)
3. สำนักพิมพ์ ระบุเฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ที่ปรากฏในหน้าปกในตัดคำประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นออก ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันอุดมศึกษาให้ระบุคำว่าสำนักพิมพ์ด้วย เช่น
McGraw – Hill Company ลงว่า McGraw - Hill
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ลงว่า ไทยวัฒนาพานิช
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด ลงว่า ซีเอ็ดยูเคชั่น
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงว่า สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0.0.0.0.0.0.
บรรณานุกรม

คณะอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชา 202101
สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. ชลบุรี : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2543). สารสนเทศและการศึกษา
ค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2541). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2541). คู่มือวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. (2538). เอกสารประกอบการเรียนวิชา สารนิเทศกับการ
ศึกษาค้นคว้า.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน-
ทรวิโรฒประสานมิตร.
วัลลภ สวัสดิวัลลภล , สุเวช ณ หนองคาย, เบญจรัตน์ สีทองสุก, นารีรัตน์ เทียมเมือง
และชัยเลิศ บริสุทธกุล. (2541). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า= Information for study skills
and research. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
นครปฐม.
สถาบันราชนครินทร์. สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา. (2544). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์
ภาคนิพนธ์. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานประสานงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชนครินทร์.

หมายเหตุ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาของข้อมูลในการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบทของเอกสารประกอบการสอน หรือรายงานการวิจัย ผู้จัดทำได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากคู่มือต่างๆ ที่ใช้หลักการเขียนแบบ APA และประยุกต์รูปแบบบางส่วนของข้อมูล บางรูปแบบจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบของ APA



จัดทำโดย ศูนย์ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าและวิจัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ระลึกเดือนส่งเสริมการอ่าน
การเขียนบรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย ฐานข้อมูล วารสารออนไลน์ เว็บไซต์หรือเว็บเพจ กลุ่มข่าว กลุ่มแสดงความคิดเห็น และจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิงแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ต้องอ้างถึงข้อมูลผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่เผยแพร่หรือปีที่ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด วันเดือนปีที่ค้นคืน และที่อยู่เว็บ ดังนี้

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องออนไลน์
ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้า. ค้นคืนเมื่อ,
จาก URL.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548, 11 มีนาคม). อ่านแผ่นดินฯ : กรุงเทพฯ (เป็นอะไร? มาจากไหน?) สร้าง
กรุงเทพฯ ซ้อนกรุงธนบุรี พื้นที่เดียวกัน. มติชนสุดสัปดาห์, 25 (1882), 78. ค้นคืนเมื่อ 14
มีนาคม 2548, จาก http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?
srctag=0422110348&srcday=2005/03/11&search=no
หมายเหตุ ตัวอย่างข้างบนนี้เป็นนิตยสาร นอกจากบอกปีที่เผยแพร่ ให้ใส่วันที่ และเดือนที่ระบุในเอกสารด้วย เช่น รายสัปดาห์

เอกสารออนไลน์
ผู้แต่ง. (2548). ชื่อเรื่อง. ค้นคืนเมื่อ, จาก URL.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2548). กินอาหารไทยไกลโรค. ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม
2548, จาก http://www.culture.go.th/knowledge/food/01.htm.

เอกสารที่ไม่สามารถระบุผู้แต่งและปีที่เผยแพร่ได้
ชื่อเรื่อง. (ม.ป.ป.). ค้นคืนเมื่อ, จาก URL.

สึนามิคืออะไร. (ม.ป.ป.). ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม 2548, จาก http://www.bj.ac.th/~library/ect.htm.

เอกสารที่ค้นได้จากฐานข้อมูล
ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. ค้นคืนเมื่อ, จาก ชื่อฐานข้อมูล.

สุโลจนี ศรีแกล้ว. (2535). การวิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์
ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่. ค้นคืนเมื่อ 14 มีนาคม 2548, จาก ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

Desousa, R. (2004).Monodisperse polymer nanospheres: Fabrication,
chemical modifications and applications. Dissertation Abtracts
International, 65 (09), 4575B. (UMI No. AAT 3145190). Retrieved March 14, 2005, from
ProQuestDigital Dissertations Database.

ข้อความที่ส่งไปยังกลุ่มข่าว
ชื่อผู้ส่งข้อความ. (ปี, เดือน วันที่ ที่ส่งข้อความ). ชื่อข่าว. (ลำดับที่ข้อความ). ข้อความส่งไปที่.

ผู้ชายคนหนึ่ง. (2548, 14 มีนาคม). เสียงจากสตรีดีเด่นถึงรัฐบาล [ข้อความ 1]. ข้อความส่งไปที่
http://www.dialynews.co.th/lady/each.asp?newsid=48272.

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

บรรณานุกรมแบบสากล


วิธีเขียนบรรณานุกรมการอ้างอิงผลงานวิจัย
การอ้างอิงโดยแทรกไปในเนื้อหาการอ้างอิงในการเขียนผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการสอนตำรา วิจัย หรือ บทความทางวิชาการเลือกแบบของการอ้างอิงได้หลายแบบที่มีใช้กันอยู่ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบสากลนิยม คือ

1. การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา

2. การลงเชิงอรรถ

• การอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหาการอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหา เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรนำไปใช้ในการเขียนตำรา ข้อดี ข้อเสียของวิธีแบบนี้ มีดังนี้วิธีการอ้างอิงแทรกปนไปกับเนื้อหานั้นมีข้อดี คือ

1. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดพิมพ์เหมือนกับการอ้างอิงไว้ท้ายหน้าในรูปเชิงอรรถ

2. ไม่เสียเวลาในการจัดทำรายละเอียดของเอกสารที่อ้างอิงชี้ในรูปแบบเชิงอรรถ เพราะจะจัดทำรายละเอียดไว้ครั้งเดียวในบรรณานุกรม

3. ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาและคอยระวังให้ถูกต้องตามแบบแผนสากล

4. ไม่เสียเวลาคอย ระวังเนื้อที่ท้ายหน้าไว้ให้พอพิมพ์รายละเอียดเชิงอรรถให้ครบตามจำนวนที่อ้างในแต่ละหน้าส่วนข้อเสียนั้นได้แก่

1) ผู้อ่านอาจมีความรู้สึกรำคาญที่ความคิดในการติดตามอ่านเนื้อหาอาจจะสะดุดเป็นช่วง ๆ เนื่องจากมีวงเล็บอ้างแทรกอยู่เป็นระยะปนไปทั่วในทุกหน้าโดยเฉพาะผู้อ่านทางสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการอ้างอิงแบบนี้

2) ผู้อ่านไม่สามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่อ้างถึงในทันที เพราะรายละเอียดทั้งหมดจะรวมไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่มแห่งเดียวแต่ในขณะที่กระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนในเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษมีราคาสูงขึ้นทุกทีนั้น การอ้างอิงโดยวิธีแทรกปนไปกับเนื้อหาจะทำให้สิ้นเปลืองหน้ากระดาษน้อยลงมาก ช่วยในการลดเงินค่าใช้ง่ายในการจัดพิมพ์ได้มาก

การอ้างอิงแทรกไปในเนื้อหา(ระบุนาม-ปี)

1. ผู้แต่งคนเดียว ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ใช้นามสกุลเท่านั้น ถ้าเป็นคนไทยลงนาม และนามสมมุติตามหลัง ถึงแม้เขียนเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศก็ตาม เพราะถือเป็นแบบที่สากลยอมรับแล้วว่า ประเทศไทยใช้เช่นนี้ (พรจันทร์ จันทรวิมล 2518:9) (Lowe 1987:98-40) (Carr et al. 1947:30-31) (จันทร์ศิริ แท่นมณี และคนอื่น ๆ 2528:58) 2. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน (สมาคมบาลี-สันสกฤต 2523:9-14) (วัดเพรียงเพชรบุรี 2530:35) ถ้าสถาบันนั้น เป็นหน่วยงานรัฐบาลอย่างน้อยต้องเริ่มต้นระดับกรม (กรมการฝึกหัดครู 2525:39) (สหวิทยาลัยทวารวดีเพชรบุรี 2528:62-64) หรือลงชื่อเฉพาะของสถาบันที่มีผลงานมาก เช่น (หอสมุดแห่งชาติ 2530:148) (วิทยาลัยครูเพชรบุรี 2524:32)

คณะกรรมการมี 2 แบบ คือ คณะกรรมการที่มีสำนักงาน เป็นอิสระ ใช้ลงนามคณะกรรมการนั้นเลย (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2520:42-45) ถ้าคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งโดยสถาบันเพื่อมอบหมายหน้าที่เฉพาะ ให้ถือเป็นส่วนของสถาบันต้องลงนามสถาบันหลักก่อน (American Library Association, Reference and Adult Services Division (Standards Committee 1976:973-974) สถาบันอื่น ๆ (ธนาคารกรุงเทพจำกัด 2525 : 30) (โรงพิมพ์คุรุสภา 2530:14) สำหรับการลงผู้แต่งที่เป็นสถาบันนั้น สามารถทำได้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ใช้อักษรย่อของสถาบันนั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ข้อความในวงเล็บนี้ยาวเกินไป แต่ข้อสำคัญอักษรย่อนั้นต้องเป็นทางการหรือเป็นที่ยอมรับใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Association of American University Professors ลงผู้แต่งไว้ว่า (AAUP 1990:184) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงผู้แต่งไว้ว่า (ก.พ. 2523:45) องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ. 2519:16)

3. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม พิมพ์คนละปีและต้องการอ้างถึงพร้อมกัน (ล้อม เพ็งแก้ว 2527:16, 2520:90, 2524:16) (ธนู บุณยรัตนพันธ์ 2516:42, 2517:90, 2530:20)

4. ผู้แต่งคนเดียวเขียนเอกสารหลายเล่ม บางเล่มพิมพ์ปีซ้ำกัน ให้ใช้ a b c d ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ใช้ ก ข ค ง ตามหลังปีสำหรับเอกสารภาษาไทย (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2527 ก:57) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ก:3-16) (กรมการฝึกหัดครู 2520 ข:33-38)

5. ผู้แต่งไม่ปรากฏชื่อ ให้ลงชื่อเรื่องเลย (หนทางแห่งความสงบ 2487:19-20)

6. ผู้แต่งไม่ปรากฏ มีแต่ผู้ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการรวบรวม (Anderson, ed. 1950:95) (สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ผู้รวบรวม 2529:43) (สุขสมาน ยอดแก้ว, บรรณาธิการ 2525 : 67)
ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องที่มักจะพบในการตรวจผลงานทางวิชาการ(นำเสนอแต่เรื่องของการวิจัย) มีดังต่อไปนี้ งานวิจัย

1 หัวข้อเรื่องกับการนำเสนอไม่รับกันหรือไม่เกี่ยวข้องกัน

2 ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย

3 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างไม่เหมาะสม ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนที่ดีของมวลประชากร

4 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลไม่เหมาะสม หรือไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีการหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) ความ เที่ยงตรง (validity) ของเครื่องมือ ไม่มีการทดลองใช้ก่อน

5 คำถามในแบบสอบถามมีลักษณะไม่ดี

6 ตั้งจุดมุ่งหมายไม่ชัดเจน

7 ตั้งสมมุติฐานโดยขาดทฤษฎี หรือเหตุผลสนับสนุน

8 ผลการค้นคว้าไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

9 ไม่มีการพิสูจน์สมบุมิฐานที่ตั้งไว้

10 เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่รวบรวมมาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะวิจัย

11 วิธีการวิจัยและการแปลผลไม่น่าเชื่อถือ

12 การอภิปรายผลการวิจัย ไม่ได้นำเอาผลการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ และขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ดี

13 ข้อเสนอแนะ ไม่ได้เสนอแนะจากผลการค้นคว้าวิจัย

14 ใช้สถิติที่ไม่เหมาะสม

15 เขียนสูตรสถิติผิด

16 บรรณานุกรมบางเล่มส่อเจตนาว่าไม่ได้อ่านจริง

17 เขียนเชิงอรรถ และบรรณานุกรมผิด

18 เรื่องที่วิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์น้อย

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาไทยชุดที่ 1

บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่ได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ประเสริฐ ศรีไฟโรจน์. เทคนิคทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ประกายพรึก, 2539.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง/และ/ชื่อผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/,/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. วาสนา ไตรพฤฒิธัญญา และ ปิยะ นิมิตยสกุล. ไมโครซอฟอ็กเซลสำหรับวินโดวส์' 95. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2539.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิพม์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. สวัสดิ์ สายประดิทธิ์, มงคล สำอางศ์กุล และ สมบูรณ์ วัฒน์วรพงศ์. สอบบรรจุเข้ารับราชการครูอาจารย์ ระดับ 1-2-3. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา, 2539.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไปให้ใช้ชื่อผู้แต่คนที่ต่อต่อด้วยคำว่า "และคนอื่น ๆ" หรือ "และคณะ" มีรูปแบบดังนี้ ผู้แต่งคนที่หนึ่ง และคนอื่น ๆ.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีทีพิมพ์. วิไล ตั้งจิตสมคิด.และคนอื่น ๆ. การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2539.

การเขียนบรรณานุกรมภาษาไทยชุดที่ 2บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์. กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ. ราชสดุดีมสดเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณใน งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระเวรุมาศท้องสนามหลวง)

วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์,/"ชื่อวิทยานิพนธ์,"/วิทยานิพนธ์ระดับใด/ภาควิชา/และ/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์ จรรยาพร บุญเหลือ. "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อขนมหวานเมืองเพชรของผู้บริโภค". วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539.

บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ,/"ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ.//เลขหน้า.//ชื่อบรรณาธิการ.//ชื่อบรรณาธิการ.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ศิริ การเจริญดี, "ปัญหาการขาดแคลนดุลบัญชีเดินสะพัด." อนาคตเศรษฐกิจไทย. 35-42. กรุงเทพมหานคร :ไทยวิจัยและฝึกอบรม, 2539.

บทความในวารสาร มีรูปแบบ 2 รูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ,"//ชื่อวารสาร.ปีที่/:/หน้า-หน้า./เดือน/ปีที่พิมพ์ สราวุธ จันทรนิภพวงศ์, "ระวังโน๊ตบุ๊กของคุณไว้ให้ดี," บิซิเนส คอมพิวเตอร์ แม็คกาซีน. 8(95) : 63-70 มกราคม 2540.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 1 บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ที่อ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่หนังสือเล่มนั้น ๆ

1. ผู้แต่ง 1 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์,/:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Dufour, Dama. Readings in Biological Anthropology. Londer : McGraw-Hill, 1995.
2. ผู้แต่ง 2 คน มีรูปแบบดังนี้
ผู้แต่งคนที่หนึ่ง,/และ/ผู้แต่งคนที่สอง.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,ปีที่พิมพ์. Beer, Ferdinand P. and Johnston, E. Russell. Vector Mechanics for Engineers. 5th ed. New York : McGraw-Hill, 1995.
3. ผู้แต่ง 3 คน มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่งคนที่หนึ่ง;ผู้แต่งคนที่สอง/และ/ผู้แต่งคนที่สาม.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์./สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Schroeder, Richard Q,; Clark, Myrtle Meccellers and Brown, Jonp W. Accounting Theory. 4th ed. New York : John Wiley & Sons, 1995.
4. ผู้แต่ง 4 คนขึ้นไป มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่คนที่หนึ่ง/และคนอื่น ๆ (and other หรือจะใช้ et al.).//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Fuller, Thedore D. and other. Migration and Development in Modern Thailand. Bangkok : Social Association of Thailand, 1993.

การเขียนบรรณานุกรม ภาษาอังกฤษ ชุดที่ 2
บรรณานุกรม คือ บัญชีรายการของแหล่งความรู้ทีอ้างอิงยืนยันว่าผู้แต่งได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจเพื่อเป็นความรู้ที่นำมาแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ
1. หนังสือที่จัดพิมพ์ในโอกาสพิเศษ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//สถานที่พิมพ์./:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. Ministry of Defence. The Royal Thaiarmed Forces. Bangkok : Amari Printing, 1996. (National Committee for Organizing the celebrations for the 50th Anniversary in Commemoration of the 50th Anniversary of His Majesty's Accession to the Throne)
2. วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียน.//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับปริญญา (สาขา).//สถานที่พิมพ์./:/มหาวิทยาลัย,/ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Laughter for spirts, A VOW FULFILLED : The COMIC Performance of Thailand's LAKHON CHATRI DANCE-DRAMA. Doctor of Philosphy (Anthropology) (Unthropology) University of Wisconsin-Madison, 1991.
3. บทความในหนังสือ มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ./ "ชื่อบทความ."//ชื่อหนังสือ./เลขหน้า.//สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์. Grow, Mary Louise. Losy of Money in old Postcads." annual Report. 24. London : methuen Educational, 1995.
4. บทความในวารสาร มีรูปแบบดังนี้
ชื่อผู้เขียนบทความ.// "ชื่อบทความ".//"ชื่อวารสาร.//ปีที่/(ฉบับที่)/:/หน้า-หน้า./เดือน/, ปีที่พิมพ์. Alan Salomon, "State of the Industry,W Hotel & Motel" 16(75) : 37-39 January, 1997.